ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ หนึ่ง

สำรวจกองทัพที่สมรภูมิ กุรุกฺเษตฺร

โศลก 15

pāñcajanyaṁ hṛṣīkeśo
devadattaṁ dhanañ-jayaḥ
pauṇḍraṁ dadhmau mahā-śaṅkhaṁ
bhīma-karmā vṛkodaraḥ
ปาญฺจชนฺยํ หฺฤษีเกโศ
เทวทตฺตํ ธนญฺ-ชยห์
เปาณฺฑฺรํ ทธฺเมา มหา-ศงฺขํ
ภีม-กรฺมา วฺฤโกทรห์
ปาญฺจชนฺยมฺ — หอยสังข์ชื่อ ปาญฺจชนฺย, หฺฤษีก-อีศห์ — ฮริชีเคช (กฺฤษฺณ องค์ภควานฺผู้กำกับประสาทสัมผัสของสาวก), เทวทตฺตมฺ — หอยสังข์ชื่อ เทวทตฺต, ธนมฺ-ชยห์ธนญฺชย (อารจุนะผู้ชนะความรวย), เปาณฺฑฺรมฺ — หอยสังข์ชื่อ เปาณฺฑฺร, ทธฺเมา — เป่า, มหา-ศงฺขมฺ — หอยสังข์ยอดเยี่ยม, ภีม-กรฺมา — ผู้ปฏิบัติงานที่ใช้พลังมหาศาล, วฺฤก-อุทรห์ — ผู้ที่รับประทานอาหารจุ (ภีม)

คำแปล

องค์ศรีกฺฤษฺณทรงเป่าหอยสังข์ของพระองค์ชื่อ ปาญฺจชนฺย อรฺชุน ทรงเป่าหอยสังข์ชื่อ เทวทตฺต และ ภีม ผู้รับประทานอาหารมากและปฏิบัติงานที่ใช้พลังงานมหาศาลได้ทรงเป่าหอยสังข์อันยอดเยี่ยมชื่อ เปาณฺฑฺร

คำอธิบาย

องค์ศฺรีกฺฤษฺณทรงถูกเรียกอีกพระนามหนึ่งในโศลกนี้ว่า หฺฤษีเกศ เนื่องจากทรงเป็นเจ้าของประสาทสัมผัสทั้งหมด สิ่งมีชีวิตเป็นละอองอณูของพระองค์ฉะนั้นประสาทสัมผัสของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดก็เป็นละอองอณูของประสาทสัมผัสของพระองค์ด้วยเช่นกัน ผู้ไม่เชื่อในรูปลักษณ์จะไม่สามารถยอมรับประสาทสัมผัสของสิ่งมีชีวิต ดังนั้นพวกเขาตื่นตัวมากที่จะอธิบายว่าสิ่งมีชีวิตทั้งหมดไม่มีประสาทสัมผัสหรือไม่มีรูปลักษณ์ องค์ภควานฺทรงสถิตอยู่ในหัวใจของมวลชีวิตและกำกับประสาทสัมผัสของพวกเขา แต่การกำกับของพระองค์นั้นขึ้นอยู่กับการศิโรราบของสิ่งมีชีวิต และในกรณีของสาวกผู้บริสุทธิ์พระองค์จะทรงควบคุมประสาทสัมผัสเองโดยตรง ที่สมรภูมิ กุรุกฺเษตฺร นี้องค์ภควานฺทรงควบคุมประสาทสัมผัสทิพย์ของ อรฺชุน โดยตรง ดังนั้น หฺฤษีเกศ ทรงเป็นพระนามของพระองค์โดยเฉพาะ องค์ภควานฺทรงมีพระนามแตกต่างกันแล้วแต่กิจกรรมอันหลากหลายของพระองค์ตัวอย่างเช่น ทรงมีพระนามว่า มธุสูทน เนื่องจากทรงสังหารมารชื่อ มธุ ทรงมีพระนามว่า โควินฺท เนื่องจากทรงให้ความสุขแก่ฝูงวัวและประสาทสัมผัส ทรงมีพระนามว่า วาสุเทว เนื่องจากทรงเป็นบุตรของ วสุเทว ทรงมีพระนามว่า เทวกี - นนฺทน เนื่องจากทรงยอมรับให้พระนาง เทวกี เป็นพระมารดา ทรงมีพระนามว่า ยโศทา - นนฺทน เนื่องจากทรงตอบแทนลีลาวัยเด็กของพระองค์แด่พระนาง ยโศทา ที่ วฺฤนฺทาวน ทรงมีพระนามว่า ปารฺถ - สารถิ เนื่องจากพระองค์ทรงปฏิบัติงานเป็นสารถีของพระสหาย อรฺชุน และในทำนองเดียวกันจึงทรงมีพระนามว่า หฺฤษีเกศ เนื่องจากทรงให้คำชี้แนะแก่ อรฺชุน ที่สนามรบ กุรุกฺเษตฺร

อรฺชุน ทรงได้ชื่อว่า ธนญฺชย ในโศลกนี้ เนื่องจากทรงช่วยพระเชษฐาไปนำเอาทรัพย์สมบัติมาในตอนที่มีความจำเป็นต่อ กฺษตฺริย เพื่อนำมาใช้จ่ายในพิธีบูชาต่างๆ ภีม ก็จึงได้ชื่อว่า วฺฤโกทร ในทำนองเดียวกันนี้เนื่องจากทรงสามารถรับประทานอาหารได้อย่างมากและสามารถปฏิบัติงานที่ใช้พลังมหาศาลได้ เช่น การสังหารมารชื่อ หิฑิมฺพ ฉะนั้นหอยสังข์ที่ฝ่าย ปาณฺฑว แต่ละท่านได้เป่าโดยเริ่มจากศฺรี กฺฤษฺณจึงเป็นการให้ขวัญกำลังใจมากแก่ทหารในการรบ ส่วนฝ่ายตรงข้ามไม่ได้รับความเชื่อมั่นเช่นนี้เพราะผู้กำกับสูงสุดองค์กฺฤษฺณ หรือเทพธิดาแห่งโชคลาภทรงมิได้อยู่ฝ่ายนั้น ดังนั้นชะตากรรมจึงได้ถูกกำหนดไว้แล้วว่าพวก ทุโรฺยธน จะต้องพ่ายแพ้ในสมรภูมินี้ และนี่คือการประกาศสารส์นโดยเสียงของสังข์