ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ หนึ่ง
สำรวจกองทัพที่สมรภูมิ กุรุกฺเษตฺร
โศลก 21-22
arjuna uvāca
senayor ubhayor madhye
rathaṁ sthāpaya me ’cyuta
yāvad etān nirīkṣe ’haṁ
yoddhu-kāmān avasthitān
senayor ubhayor madhye
rathaṁ sthāpaya me ’cyuta
yāvad etān nirīkṣe ’haṁ
yoddhu-kāmān avasthitān
อรฺชุน อุวาจ
เสนโยรฺ อุภโยรฺ มเธฺย
รถํ สฺถาปย เม ’จฺยุต
ยาวทฺ เอตานฺ นิรีกฺเษ ’หํ
โยทฺธุ-กามานฺ อวสฺถิตานฺ
เสนโยรฺ อุภโยรฺ มเธฺย
รถํ สฺถาปย เม ’จฺยุต
ยาวทฺ เอตานฺ นิรีกฺเษ ’หํ
โยทฺธุ-กามานฺ อวสฺถิตานฺ
kair mayā saha yoddhavyam
asmin raṇa-samudyame
asmin raṇa-samudyame
ไกรฺ มยา สห โยทฺธวฺยมฺ
อสฺมินฺ รณ-สมุทฺยเม
อสฺมินฺ รณ-สมุทฺยเม
อรฺชุนห์ อุวาจ — อรฺชุน ตรัส, เสนโยห์ — ของกองทัพ, อุภโยห์ — ทั้งสองฝ่าย, มเธฺย — ระหว่าง, รถมฺ — ราชรถ, สฺถาปย — กรุณารักษา, เม — ของข้า, อจฺยุต — โอ้ ผู้ไร้ความผิดพลาด, ยาวตฺ — นานเท่าที่, เอตานฺ — ทั้งหมดนี้, นิรีกฺเษ — อาจจะมองไป, อหมฺ — ข้าพเจ้า, โยทฺธุ-กามานฺ — มีความปรารถที่จะสู้รบ, อวสฺถิตานฺ — เป็นทิวแถวที่สนามรบ, ไกห์ — กับผู้ซึ่ง, มยา — โดยข้า, สห — ด้วยกัน, โยทฺธวฺยมฺ — ต้องต่อสู้, อสฺมินฺ — ในนี้, รณ — ต่อสู้, สมุทฺยเม — ในความพยายาม
คำแปล
อรฺชุน
คำอธิบาย
ถึงแม้ว่าองค์ศฺรีกฺฤษฺณทรงเป็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า แต่ด้วยพระเมตตาธิคุณอันหาที่สุดมิได้นี้ทรงปฏิบัติตนรับใช้สหาย พระองค์ไม่เคยที่จะไม่ใยดีที่จะมีความเมตตาต่อสาวกของพระองค์เลย และพระองค์จึงทรงถูกเรียกที่นี้ว่าเป็นผู้ที่ไม่มีความผิดพลาด ในฐานะที่ทรงเป็นสารถีจะต้องรับคำสั่งจาก อรฺชุน พระองค์ทรงไม่ลังเลที่จะทำเช่นนี้จึงทรงถูกเรียกว่าเป็นผู้ไร้ความผิดพลาด ถึงแม้ว่าทรงยอมรับตำแหน่งสารถีให้สาวกของพระองค์เอง แต่สถานภาพอันสูงสุดของพระองค์ก็ไม่ได้ทรงถูกลดให้ต่ำลงไป พระองค์ยังทรงเป็นบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า หฺฤษีเกศ เจ้าแห่งประสาทสัมผัสทั้งหมดไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ภควานฺ และผู้รับใช้มีความหวานชื่นและเป็นทิพย์ ผู้รับใช้พร้อมเสมอในการรับใช้องค์ภควานฺ และในทำนองเดียวกันนี้องค์ภควานฺก็จะทรงหาโอกาสที่จะรับใช้สาวกเสมอ พระองค์ทรงมีความสุขเกษมสำราญมากที่สาวกผู้บริสุทธิ์มีสถานภาพที่เหนือกว่า และออกคำสั่งพระองค์มากกว่าที่พระองค์เองจะทรงเป็นผู้ออกคำสั่ง เพราะทรงเป็นเจ้านายทุกคนจึงอยู่ภายใต้คำสั่งของพระองค์ไม่มีใครอยู่เหนือกว่าพอที่จะสั่งพระองค์ได้ แต่เมื่อทรงพบสาวกผู้บริสุทธิ์ออกคำสั่ง พระองค์ทรงรู้สึกว่ามีความสุขเกษมสำราญทิพย์ ถึงแม้ว่าพระองค์จะทรงเป็นเจ้านายผู้ไร้ความผิดพลาดในทุกสถานการณ์ก็ตาม
ในฐานะที่เป็นสาวกผู้บริสุทธิ์ขององค์ภควานฺ อรฺชุน ทรงไม่ปรารถนาที่จะต่อสู้กับญาติพี่น้อง แต่ทรงถูกบังคับให้มาที่สมรภูมิจากความดื้อรั้นของ ทุโรฺยธน ผู้ไม่ยอมตกลงเจรจาสงบศึก อย่างไรก็ตาม อรฺชุน ก็ยังทรงอยากเห็นมากว่าใครคือผู้นำในการรบที่สมรภูมินี้ ถึงแม้ว่าจะไม่มีประโยชน์ที่จะพยายามสงบศึกในสนามรบ อรฺชุน ทรงปรารถนาจะเห็นพวกเขาอีกครั้ง และดูว่าพวกเขามีความต้องการที่จะทำสงครามที่ตนไม่พึงปรารถนานี้มากเพียงใด