ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ หนึ่ง
สำรวจกองทัพที่สมรภูมิ กุรุกฺเษตฺร
โศลก 30
na ca śaknomy avasthātuṁ
bhramatīva ca me manaḥ
nimittāni ca paśyāmi
viparītāni keśava
bhramatīva ca me manaḥ
nimittāni ca paśyāmi
viparītāni keśava
น จ ศกฺโนมฺยฺ อวสฺถาตุํ
ภฺรมตีว จ เม มนห์
นิมิตฺตานิ จ ปศฺยามิ
วิปรีตานิ เกศว
ภฺรมตีว จ เม มนห์
นิมิตฺตานิ จ ปศฺยามิ
วิปรีตานิ เกศว
น — ไม่, จ — เช่นกัน, ศกฺโนมิ — ข้าสามารถหรือไม่, อวสฺถาตุมฺ — อยู่, ภฺรมติ — ลืม, อิว — เช่น, จ — และ, เม — ของข้า, มนห์ — ใจ, นิมิตฺตานิ — สาเหตุ, จ — เช่นกัน, ปศฺยามิ — ข้าเห็น, วิปรีตานิ — สิ่งตรงกันข้าม, เกศว — โอ้ ผู้สังหารมาร เกศี (กฺฤษฺณ)
คำแปล
บัดนี้ข้าไม่สามารถยืนอยู่
คำอธิบาย
ด้วยการขาดความอดทน อรฺชุน จึงทรงไม่สามารถที่จะอยู่ที่สมรภูมิได้อีกต่อไป และรู้สึกลืมตัวเองเนื่องจากความอ่อนแอของจิตใจ และความยึดติดในสิ่งของวัตถุอย่างรุนแรงทำให้คนเราอยู่ในสภาวะสับสนเช่นนี้ ภยํ ทฺวิตียาภินิเวศตห์ สฺยาตฺ (ภาควต 11.2.37) ความกลัวและความไม่สมดุลของจิตใจเช่นนี้จะเกิดขึ้นกับผู้ที่มีความยึดติดกับสภาวะวัตถุมากเกินไป อรฺชุน ทรงเห็นเฉพาะผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นที่จะมีแต่ความเจ็บปวดในสมรภูมิเท่านั้น และจะทรงไม่มีความสุขแม้ได้รับชัยชนะจากศัตรู คำว่า นิมิตฺตานิ วิปรีตานิ มีความสำคัญ เมื่อเราเห็นเฉพาะความผิดหวังในสิ่งที่คาดหวังเราก็จะคิดว่า “ข้ามาอยู่ที่นี่ทำไม” ทุกๆคนจะสนใจในตนเองและเรื่องของตนเองเท่านั้น ไม่มีใครสนใจในองค์ภควานฺ ด้วยพระประสงค์ของศฺรีกฺฤษฺณทำให้ อรฺชุน ทรงไม่รู้ถึงผลประโยชน์ที่แท้จริงของตนเอง ผลประโยชน์ที่แท้จริงของเราอยู่ที่พระวิษฺณุหรือองค์กฺฤษฺณ พันธวิญญาณลืมจุดนี้ไปดังนั้นต่างจึงต้องได้รับทุกข์แห่งความเจ็บปวดทางวัตถุ อรฺชุน ทรงคิดว่าชัยชนะของพระองค์ในการรบนั้นจะเป็นเพียงสาเหตุเดียวที่ทำให้พระองค์เศร้าโศกเสียใจ