ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ หนึ่ง

สำรวจกองทัพที่สมรภูมิ กุรุกฺเษตฺร

โศลก 37-38

yady apy ete na paśyanti
lobhopahata-cetasaḥ
kula-kṣaya-kṛtaṁ doṣaṁ
mitra-drohe ca pātakam
ยทฺยฺ อปฺยฺ เอเต น ปศฺยนฺติ
โลโภปหต-เจตสห์
กุล-กฺษย-กฺฤตํ โทษํ
มิตฺร-โทฺรเห จ ปาตกมฺ
kathaṁ na jñeyam asmābhiḥ
pāpād asmān nivartitum
kula-kṣaya-kṛtaṁ doṣaṁ
prapaśyadbhir janārdana
กถํ น เชฺญยมฺ อสฺมาภิห์
ปาปาทฺ อสฺมานฺ นิวรฺติตุมฺ
กุล-กฺษย-กฺฤตํ โทษํ
ปฺรปศฺยทฺภิรฺ ชนารฺทน
ยทิ — ถ้าหาก, อปิ — ถึงแม้, เอเต — พวกเขา, — ไม่, ปศฺยนฺติ — เห็น, โลภ — ด้วยความโลภ, อุปหต — มีอำนาจมากว่า, เจตสห์ — หัวใจของพวกเขา, กุล-กฺษย — ในการสังหารครอบครัว, กฺฤตมฺ — ทำสำเร็จ, โทษมฺ — ความผิด, มิตฺร-โทฺรเห — ในการทะเลาะกับสหาย, เช่นกัน, ปาตกมฺ — ผลแห่งบาป, กถมฺ — ทำไม, — ไม่ควร, ชฺเญยมฺ — เป็นที่รู้, อสฺมาภิห์ — โดยเรา, ปาปาตฺ — จากความบาป, อสฺมาตฺ เหล่านี้, นิวรฺติตุมฺ — หยุด, กุล-กฺษย — ในการทำลายราชวงศ์, กฺฤตมฺ — ทำเสร็จสิ้น, โทษมฺ — อาชญากรรม, ปฺรปศฺยทฺภิห์ — โดยผู้ที่สามารถเห็น, ชนารฺทน — โอ้ กฺฤษฺณ

คำแปล

โอ้ ชนารฺทน ถึงแม้ว่าบุคคลเหล่านี้ที่หัวใจถูกครอบงำไปด้วยความโลภ มองไม่เห็นความผิดใดๆที่จะสังหารครอบครัวของตนเอง หรือแม้แต่การทะเลาะวิวาทกับเหล่าสหาย แล้วเหตุไฉนเราผู้ที่สามารถเห็นได้ว่าการทำลายครอบครัวเช่นนี้เป็นการอาชญากรรมจะกระทำบาปเช่นนี้ได้เล่า

คำอธิบาย

กฺษตฺริย ไม่ควรที่จะปฏิเสธการรบ หรือการพนันเมื่อได้รับคำท้าทายจากฝ่ายตรงข้าม อรฺชุน ทรงไม่ควรปฏิเสธการสู้รบภายใต้หน้าที่ความรับผิดชอบเช่นนี้เพราะว่าได้ถูกท้าทายจากฝ่าย ทุโรฺยธน ด้วยเหตุนี้ อรฺชุน ทรงพิจารณาว่าฝ่ายตรงข้ามอาจจะตาบอดที่มาท้าทายตนเช่นนี้ อย่างไรก็ดี อรฺชุน ทรงเล็งเห็นผลร้ายที่จะเกิดขึ้นจึงไม่สามารถที่จะยอมรับการท้าทายนี้ได้ ความรับผิดชอบเป็นสิ่งจำเป็นต้องปฏิบัติเมื่อผลจะออกมาดี แต่เมื่อผลจะออกมาตรงกันข้ามก็ไม่มีใครควรถูกผูกมัด เมื่อทรงพิจารณาถึงผลที่จะได้และผลเสียทั้งหมด อรฺชุน จึงทรงตัดสินใจว่าจะไม่สู้รบ