ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ หนึ่ง

สำรวจกองทัพที่สมรภูมิ กุรุกฺเษตฺร

โศลก 40

adharmābhibhavāt kṛṣṇa
praduṣyanti kula-striyaḥ
strīṣu duṣṭāsu vārṣṇeya
jāyate varṇa-saṅkaraḥ
อธรฺมาภิภวาตฺ กฺฤษฺณ
ปฺรทุษฺยนฺติ กุล-สฺตฺริยห์
สฺตฺรีษุ ทุษฺฏาสุ วารฺษฺเณย
ชายเต วรฺณ-สงฺกรห์
อธรฺม — ไร้ศาสนา, อภิภวาตฺ — มีอำนาจมากกว่า, กฺฤษฺณ — โอ้ กฺฤษฺณ, ปฺรทุษฺยนฺติ — ทำให้เสื่อมเสีย, กุล-สฺตฺริยห์ — สุภาพสตรีในครอบครัว, สฺตฺรีษุ — โดยความเป็นสตรี, ทุษฺฏาสุ — มีความเสื่อมเสียมาก, วารฺษฺเณย — โอ้ ผู้สืบสกุลแห่ง วฺฤษฺณิ, ชายเต — มาเป็นอยู่, วรฺณ-สงฺกรห์ — ลูกหลานที่ไม่ต้องการ

คำแปล

เมื่อการทำผิดหลักศาสนามีมากขึ้นในครอบครัว โอ้ กฺฤษฺณ สุภาพสตรีในครอบครัวจะถูกทำให้เสื่อมเสีย และเมื่อสตรีได้รับความเสื่อมเสีย โอ้ ผู้สืบสกุลแห่ง วฺฤษฺณิ ลูกหลานที่ไม่พึงประสงค์ก็จะถือกำเนิด

คำอธิบาย

พลเมืองที่ดีในสังคมมนุษย์เป็นหลักพื้นฐานแห่งความสงบ ความเจริญรุ่งเรือง และความก้าวหน้าในชีวิตทิพย์ หลักธรรมของศาสนา วรฺณาศฺรม ได้ออกแบบไว้ให้มีพลเมืองส่วนใหญ่เป็นพลเมืองที่ดีในสังคมเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของรัฐและสังคมในวิถีทิพย์ พลเมืองเช่นนี้นั้นจะขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์และความซื่อสัตย์ของสตรี เหมือนกับเด็กที่มีแนวโน้มไปในทางที่ผิด สตรีก็เช่นกันมีแนวโน้มไปในทางที่เสื่อมได้ ดังนั้นทั้งเด็กและสตรีจำเป็นต้องได้รับการปกป้องคุ้มครองจากสมาชิกผู้อาวุโสในครอบครัว เมื่อได้ปฏิบัติกิจกรรมต่างๆทางศาสนาสตรีจะไม่ถูกนำไปในทางที่ผิดเรื่องชู้สาว ตามที่ จาณกฺย ปณฺฑิต ได้กล่าวไว้ว่าโดยทั่วไปสตรีไม่ค่อยฉลาดจึงไม่ควรไว้วางใจ ฉะนั้นประเพณีครอบครัว และกิจกรรมทางศาสนาต่างๆตัวสตรีนั้นควรปฏิบัติด้วยความบริสุทธิ์ และการอุทิศตนเสียสละเช่นนี้จะทำให้กำเนิดพลเมืองดีที่สามารถปฏิบัติตามระบบ วรฺณาศฺรม ได้ แต่ที่ วรฺณาศฺรม-ธรฺม ไม่ประสบผลสำเร็จก็เนื่องมาจากสตรีมีอิสระในการคบหากับบุรุษตามธรรมชาติ ดังนั้นความสัมพันธ์ทางชู้สาวจึงเกิดขึ้นซึ่งเสี่ยงในการมีประชากรที่ไม่พึงปรารถนา บุรุษผู้ไม่รับผิดชอบจะชอบมีความสัมพันธ์ทางชู้สาวในสังคม ดังนั้นจึงจะมีเด็กๆที่ไม่พึงประสงค์ออกมามากมายในสังคมมนุษย์ ซึ่งเป็นการเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดสงครามและโรคระบาด