ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบ

ความมั่งคั่งแห่งสัจธรรม

โศลก 17

kathaṁ vidyām ahaṁ yogiṁs
tvāṁ sadā paricintayan
keṣu keṣu ca bhāveṣu
cintyo ’si bhagavan mayā
กถํ วิทฺยามฺ อหํ โยคึสฺ
ตฺวำ สทา ปริจินฺตยนฺ
เกษุ เกษุ จ ภาเวษุ
จินฺโตฺย ’สิ ภควนฺ มยา
กถมฺ — อย่างไร, วิทฺยามฺ อหมฺ — ข้าจะรู้, โยคินฺ — โอ้ ผู้มีอิทธิฤทธิ์สูงสุด, ตฺวามฺ — พระองค์, สทา — เสมอ, ปริจินฺตยนฺ — ระลึกถึง, เกษุ — ในซึ่ง, เกษุ — ในซึ่ง, — เช่นกัน, ภาเวษุ — ธรรมชาติ, จินฺตฺยห์ อสิ — จำพระองค์ได้, ภควนฺ — โอ้ องค์ภควาน, มยา — โดยข้า

คำแปล

โอ้ กฺฤษฺณ โอ้ ผู้มีอิทธิฤทธิ์สูงสุด ข้าพเจ้าจะระลึกถึงพระองค์ตลอดเวลาได้อย่างไร และจะรู้ถึงพระองค์ได้อย่างไร โอ้ องค์ภควานผู้ทรงมีรูปลักษณ์มากมาย ข้าพเจ้าควรระลึกถึงรูปลักษณ์ใดของพระองค์

คำอธิบาย

ดังที่ได้กล่าวไว้ในบทก่อนหน้านี้ว่าบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงถูกปกคลุมด้วย โยค - มายา ของพระองค์ดวงวิญญาณที่ศิโรราบและสาวกเท่านั้นที่สามารถเห็นพระองค์บัดนี้ อรฺชุน ทรงมั่นใจว่าสหาย กฺฤษฺณ คือองค์ภควานฺแต่ปรารถนาจะรู้ถึงวิธีการโดยทั่วไปที่คนธรรมดาสามารถเข้าใจพระองค์ผู้ทรงแผ่กระจายไปทั่ว คนธรรมดาทั่วไปรวมทั้งเหล่ามารและพวกไม่เชื่อในองค์ภควานฺไม่สามารถรู้ถึงองค์กฺฤษฺณ เพราะว่าพระองค์ทรงได้รับการปกป้องจากพลัง โยค-มายา ของพระองค์ อีกครั้งหนึ่งที่ อรฺชุน ทรงถามคำถามเหล่านี้เพื่อประโยชน์ของพวกเรา สาวกผู้เจริญแล้วไม่ห่วงเฉพาะความเข้าใจของตนเองเท่านั้นแต่ทำไปเพื่อความเข้าใจของมวลมนุษยชาติ ดังนั้นด้วยความเมตตากรุณา อรฺชุน ผู้เป็นสาวก ไวษฺณว ได้เปิดทางเพื่อให้คนธรรมดาสามัญเข้าใจการแผ่กระจายไปทั่วขององค์ภควานฺทรงเรียกองค์กฺฤษฺณ โดยเฉพาะว่า โยคินฺ เพราะว่าศฺรี กฺฤษฺณทรงเป็นเจ้านายของพลัง โยค-มายา ที่สามารถปกปิดและเปิดเผยตัวพระองค์แก่คนธรรมดาทั่วไป บุคคลธรรมดาสามัญที่ไม่มีความรักต่อองค์กฺฤษฺณไม่สามารถระลึกถึงองค์กฺฤษฺณได้ ดังนั้นจึงต้องมีแนวคิดทางวัตถุ อรฺชุน ทรงพิจารณาถึงระดับแห่งความคิดของนักวัตถุนิยมในโลกนี้คำว่า เกษุ เกษุ ภาเวษุ หมายถึงธรรมชาติวัตถุ (คำว่า ภาว หมายความว่า “สิ่งของที่เป็นวัตถุ”) เพราะว่านักวัตถุนิยมไม่สามารถเข้าใจองค์กฺฤษฺณในวิถีทิพย์จึงได้รับการแนะนำให้ทำสมาธิจิตอยู่ที่สิ่งของวัตถุ และพยายามดูว่าองค์กฺฤษฺณทรงปรากฏผ่านผู้แทนต่างๆทางวัตถุได้อย่างไร