ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบ

ความมั่งคั่งแห่งสัจธรรม

โศลก 21

ādityānām ahaṁ viṣṇur
jyotiṣāṁ ravir aṁśumān
marīcir marutām asmi
nakṣatrāṇām ahaṁ śaśī
อาทิตฺยานามฺ อหํ วิษฺณุรฺ
โชฺยติษำ รวิรฺ อํศุมานฺ
มรีจิรฺ มรุตามฺ อสฺมิ
นกฺษตฺราณามฺ อหํ ศศี
อาทิตฺยานามฺ — ของ อาทิตฺย, อหมฺ — ข้าเป็น, วิษฺณุห์ — องค์ภควาน, โชฺยติษามฺ — ของดวงประทีปทั้งหลาย, รวิห์ — ดวงอาทิตย์, อํศุ-มานฺ — รัศมี, มรีจิห์มรีจิ, มรุตามฺ — ของ มรุตฺ, อสฺมิ — ข้าเป็น, นกฺษตฺราณามฺ — ของหมู่ดวงดาว, อหมฺ — ข้าเป็น, ศศี — ดวงจันทร์

คำแปล

ในหมู่ อาทิตฺย ข้าคือ วิษฺณุ ในหมู่ดวงประทีปข้าคือดวงอาทิตย์ที่ส่องแสงเจิดจรัส ในหมู่ มรุตฺ ข้าคือ มรีจิ และในหมู่ดวงดาวข้าคือดวงจันทร์

คำอธิบาย

มีอยู่สิบสอง อาทิตฺย ซึ่งองค์กฺฤษฺณทรงเป็นประธาน ในหมู่ดวงประทีปทั้งหลายที่ระยิบระยับอยู่ในท้องฟ้าดวงอาทิตย์เป็นประธาน และ พฺรหฺม-สํหิตา ยอมรับว่าดวงอาทิตย์เป็นพระเนตรขององค์ภควานฺที่ส่องรัศมี มีลมห้าสิบชนิดที่พัดอยู่ในอวกาศและในหมู่ลมเหล่านี้ มรีจิ พระปฏิมาผู้ควบคุมเป็นผู้แทนขององค์กฺฤษฺณ

ในหมู่ดวงดาวนั้นดวงจันทร์โดดเด่นที่สุดในตอนกลางคืนดังนั้นดวงจันทร์จึงเป็นผู้แทนขององค์กฺฤษฺณ ปรากฏจากโศลกนี้ว่าดวงจันทร์เป็นหนึ่งในหมู่ดวงดาวดังนั้นหมู่ดวงดาวที่ส่องแสงระยิบระยับอยู่ในท้องฟ้าก็ได้รับแสงสะท้อนจากดวงอาทิตย์เช่นกัน ทฤษฎีที่ว่ามีดวงอาทิตย์อยู่หลายดวงในจักรวาลนั้นวรรณกรรมพระเวทไม่ยอมรับ ดวงอาทิตย์เป็นหนึ่งและด้วยแสงสะท้อนของดวงอาทิตย์ทำให้ดวงจันทร์และดวงดาวต่างๆส่องแสงสว่าง ภควัท-คีตา แสดงให้เห็น ที่นี้ว่าดวงจันทร์เป็นหนึ่งในหมู่ดวงดาว แสงระยิบระยับจากดวงดาวต่างๆไม่ใช่ดวงอาทิตย์แต่คล้ายกับดวงจันทร์