ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบเอ็ด

รูปลักษณ์จักรวาล

โศลก 12

divi sūrya-sahasrasya
bhaved yugapad utthitā
yadi bhāḥ sadṛśī sā syād
bhāsas tasya mahātmanaḥ
ทิวิ สูรฺย-สหสฺรสฺย
ภเวทฺ ยุคปทฺ อุตฺถิตา
ยทิ ภาห์ สทฺฤศี สา สฺยาทฺ
ภาสสฺ ตสฺย มหาตฺมนห์
ทิวิ — ในท้องฟ้า, สูรฺย — หมู่ดวงอาทิตย์, สหสฺรสฺย — หลายๆพัน, ภเวตฺ — มี, ยุคปตฺ — พร้อมๆกัน, อุตฺถิตา — ปรากฏ, ยทิ — ถ้า, ภาห์ — แสง, สทฺฤศี — เหมือนเช่นนั้น, สา — นั้น, สฺยาตฺ — อาจเป็น, ภาสห์ — รัศมี, ตสฺย — ของพระองค์, มหา-อาตฺมนห์ — องค์ภควานฺผู้ยิ่งใหญ่

คำแปล

หากดวงอาทิตย์เป็นร้อยๆพันๆดวงขึ้นบนท้องฟ้าในบัดดล แสงของดวงอาทิตย์เหล่านี้อาจคล้ายกับรัศมีขององค์ภควานฺในรูปลักษณ์จักรวาลนั้น

คำอธิบาย

สิ่งที่ อรฺชุน ทรงได้เห็นอธิบายไม่ได้ ถึงกระนั้น สญฺชย พยายามให้เห็นจินตนาการแห่งการเปิดเผยอันยิ่งใหญ่นั้นแด่ ธฺฤตราษฺฏฺร ทั้ง สญฺชย และ ธฺฤตราษฺฏฺร ไม่ได้อยู่ที่นั้นแต่ด้วยพระกรุณาธิคุณของ วฺยาส สญฺชย จึงสามารถเห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น บัดนี้ สญฺชย เปรียบเทียบสถานการณ์กับปรากฏการณ์ทางจินตนาการ (ตัวอย่างเช่น ดวงอาทิตย์ขึ้นเป็นพันๆดวง) เท่าที่พอจะเข้าใจได้