ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบเอ็ด

รูปลักษณ์จักรวาล

โศลก 13

tatraika-sthaṁ jagat kṛtsnaṁ
pravibhaktam anekadhā
apaśyad deva-devasya
śarīre pāṇḍavas tadā
ตไตฺรก-สฺถํ ชคตฺ กฺฤตฺสฺนํ
ปฺรวิภกฺตมฺ อเนกธา
อปศฺยทฺ เทว-เทวสฺย
ศรีเร ปาณฺฑวสฺ ตทา
ตตฺร — ที่นั่น, เอก-สฺถมฺ — ในที่เดียว, ชคตฺ — จักรวาล, กฺฤตฺสฺนมฺ — สมบูรณ์, ปฺรวิภกฺตมฺ — แบ่งออก, อเนกธา — เป็นหลายๆ, อปศฺยตฺ — สามารถเห็น, เทว-เทวสฺย — องค์ภควานฺ, ศรีเร — ในรูปลักษณ์จักรวาล, ปาณฺฑวห์อรฺชุน, ตทา — ในขณะนั้น

คำแปล

ในขณะนั้น อรฺชุน ทรงสามารถเห็นรูปลักษณ์จักรวาลขององค์ภควานฺ ภาคที่แบ่งแยกอันไม่สิ้นสุดของจักรวาลสถิต ที่เดียว ถึงแม้ว่าแบ่งแยกออกไปเป็นหลายๆพัน

คำอธิบาย

คำว่า ตตฺร (“ที่นั่น”) นั้นมีความสำคัญมาก แสดงให้เห็นว่าทั้ง อรฺชุน และองค์กฺฤษฺณทรงประทับอยู่บนราชรถ ขณะที่ อรฺชุน ทรงได้เห็นรูปลักษณ์จักรวาลบุคคลอื่นๆในสมรภูมิไม่สามารถเห็นรูปลักษณ์นี้เพราะว่าองค์กฺฤษฺณทรงให้จักษุแด่ อรฺชุน เท่านั้น อรฺชุน ทรงสามารถเห็นดาวเคราะห์เป็นจำนวนพันๆดวงภายในพระวรกายขององค์กฺฤษฺณ ดังที่เราได้เรียนรู้จากคัมภีร์พระเวทว่ามีจักรวาลและมีดาวเคราะห์มากมายบางดวงทำมาจากดิน บางดวงทำมาจากทองคำ บางดวงทำมาจากอัญมณี บางดวงยิ่งใหญ่มาก บางดวงไม่ยิ่งใหญ่เท่าใดนัก ฯลฯ ขณะที่ทรงประทับอยู่บนราชรถ อรฺชุน ทรงเห็นทั้งหมดนี้ แต่ไม่มีผู้ใดสามารถเข้าใจว่าอะไรกำลังเกิดขึ้นระหว่าง อรฺชุน และองค์กฺฤษฺณ