ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบเอ็ด

รูปลักษณ์จักรวาล

โศลก 2

bhavāpyayau hi bhūtānāṁ
śrutau vistaraśo mayā
tvattaḥ kamala-patrākṣa
māhātmyam api cāvyayam
ภวาปฺยเยา หิ ภูตานำ
ศฺรุเตา วิสฺตรโศ มยา
ตฺวตฺตห์ กมล-ปตฺรากฺษ
มาหาตฺมฺยมฺ อปิ จาวฺยยมฺ
ภว — การปรากฏ, อปฺยเยา — การไม่ปรากฏ, หิ — แน่นอน, ภูตานามฺ — ของมวลชีวิต, ศฺรุเตา — ได้ยินแล้ว, วิสฺตรศห์ — โดยละเอียด, มยา — โดยข้า, ตฺวตฺตห์ — จากพระองค์, กมล-ปตฺร-อกฺษ — โอ้ ผู้มีพระเนตรคล้ายดอกบัว, มาหาตฺมฺยมฺ — บารมี, อปิ — เช่นกัน, — และ, อวฺยยมฺ — ไม่มีสิ้นสุด

คำแปล

โอ้ ผู้มีพระเนตรเหมือนดอกบัว ข้าพเจ้าสดับฟังจากพระองค์โดยละเอียดเกี่ยวกับการปรากฏและการไม่ปรากฏของทุกๆชีวิต และได้รู้แจ้งถึงพระบารมีอันหาที่สุดมิได้ของพระองค์

คำอธิบาย

อรฺชุน ทรงเรียกองค์ศฺรี กฺฤษฺณว่า “พระเนตรรูปดอกบัว” (ดวงตาขององค์กฺฤษฺณเหมือนกับกลีบดอกบัว) ด้วยความยินดีที่องค์กฺฤษฺณทรงให้ความมั่นใจแก่ท่านในบทที่แล้วโดยตรัสว่า อหํ กฺฤตฺสฺนสฺย ชคตห์ ปฺรภวห์ ปฺรลยสฺ ตถา “ข้าคือแหล่งกำเนิดของสิ่งที่ปรากฏและสิ่งที่ไม่ปรากฏในปรากฏการณ์ทางวัตถุทั้งหมด” อรฺชุน ทรงได้ยินเช่นนี้จากองค์ภควานฺโดยละเอียด อรฺชุน ยังทราบอีกว่าถึงแม้องค์กฺฤษฺณทรงเป็นแหล่งกำเนิดของสิ่งที่ปรากฏและสิ่งไม่ปรากฏทั้งหลาย พระองค์ยังทรงอยู่ห่างจากสิ่งเหล่านั้น ดังที่ได้ตรัสไว้ในบทที่เก้าว่าพระองค์ทรงแผ่กระจายไปทั่ว ถึงกระนั้นพระองค์ทรงมิได้ปรากฏอยู่ทุกหนทุกแห่งด้วยพระองค์เอง นั่นคือความมั่งคั่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้ขององค์กฺฤษฺณซึ่ง อรฺชุน ทรงยอมรับว่าตัวท่านเข้าใจเป็นอย่างดี