ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สิบเอ็ด
รูปลักษณ์จักรวาล
โศลก 4
manyase yadi tac chakyaṁ
mayā draṣṭum iti prabho
yogeśvara tato me tvaṁ
darśayātmānam avyayam
mayā draṣṭum iti prabho
yogeśvara tato me tvaṁ
darśayātmānam avyayam
มนฺยเส ยทิ ตจฺ ฉกฺยํ
มยา ทฺรษฺฏุมฺ อิติ ปฺรโภ
โยเคศฺวร ตโต เม ตฺวํ
ทรฺศยาตฺมานมฺ อวฺยยมฺ
มยา ทฺรษฺฏุมฺ อิติ ปฺรโภ
โยเคศฺวร ตโต เม ตฺวํ
ทรฺศยาตฺมานมฺ อวฺยยมฺ
มนฺยเส — พระองค์ทรงคิด, ยทิ — อาจ, ตตฺ — นั้น, ศกฺยมฺ — สามารถ, มยา — โดยข้า, ทฺรษฺฏุมฺ — ได้เห็น, อิติ — ดังนั้น, ปฺรโภ — โอ้ องค์ภควานฺ, โยค-อีศฺวร — โอ้ เจ้าแห่งพลังอิทธิฤทธิ์ทั้งหลาย, ตตห์ — จากนั้น, เม — แด่ข้า, ตฺวมฺ — พระองค์, ทรฺศย — แสดง, อาตฺมานมฺ — ตัวพระองค์เอง, อวฺยยมฺ — อมตะ
คำแปล
หากทรงคิดว่าข้าพเจ้าสามารถเห็นรูปลักษณ์จักรวาลของพระองค์
คำอธิบาย
ได้กล่าวไว้ว่าเราไม่สามารถเห็น ได้ยิน เข้าใจ หรือสำเหนียกองค์ภควานฺ กฺฤษฺณด้วยประสาทสัมผัสวัตถุ แต่หากเราปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ด้วยความรักทิพย์ต่อพระองค์ตั้งแต่ต้นเราจะสามารถเห็นองค์ภควานฺจากการเปิดเผยของพระองค์ ทุกๆชีวิตเป็นเพียงแค่ละอองอณูทิพย์ฉะนั้นเป็นไปไม่ได้ที่จะเห็นหรือเข้าใจองค์ภควานฺ อรฺชุน ในฐานะที่ทรงเป็นสาวกจึงมิได้ขึ้นอยู่กับพลังแห่งการคาดคะเนของตนเอง แต่ยอมรับขีดจำกัดในฐานะที่เป็นสิ่งมีชีวิตและเข้าใจถึงสถานภาพขององค์กฺฤษฺณที่ไม่สามารถประเมินได้ อรฺชุน ทรงเข้าใจว่าเป็นไปไม่ได้ที่สิ่งมีชีวิตจะเข้าใจผู้ที่ไร้ขอบเขตอันหาที่สิ้นสุดไม่ได้หากว่าผู้ไร้ขอบเขตทรงเปิดเผยตัวพระองค์ จึงเป็นไปได้ที่เราจะเข้าใจธรรมชาติแห่งความไร้ขอบเขตด้วยพระกรุณาธิคุณของพระองค์ คำว่า โยเคศฺวร มีความสำคัญมากในที่นี้เพราะองค์ภควานฺทรงมีพลังอำนาจที่ไม่สามารถมองเห็นได้ หากปรารถนาก็จะทรงสามารถเปิดเผยตนเองด้วยพระกรุณาธิคุณของพระองค์ แม้ไร้ขีดจำกัดก็ตาม ฉะนั้น อรฺชุน ทรงอ้อนวอนพระกรุณาธิคุณขององค์กฺฤษฺณที่ไม่สามารถมองเห็นได้ ท่านมิได้สั่งองค์กฺฤษฺณ องค์กฺฤษฺณทรงไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตนเองเว้นแต่ว่าเราจะศิโรราบในกฺฤษฺณจิตสำนึกและปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นผู้ที่ขึ้นอยู่กับพลังแห่งการคาดคะเนทางจิตใจของตนเองจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะเห็นองค์กฺฤษฺณ