ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบเอ็ด

รูปลักษณ์จักรวาล

โศลก 49

mā te vyathā mā ca vimūḍha-bhāvo
dṛṣṭvā rūpaṁ ghoram īdṛṅ mamedam
vyapeta-bhīḥ prīta-manāḥ punas tvaṁ
tad eva me rūpam idaṁ prapaśya
มา เต วฺยถา มา จ วิมูฒ-ภาโว
ทฺฤษฺฏฺวา รูปํ โฆรมฺ อีทฺฤงฺ มเมทมฺ
วฺยเปต-ภีห์ ปฺรีต-มนาห์ ปุนสฺ ตฺวํ
ตทฺ เอว เม รูปมฺ อิทํ ปฺรปศฺย
มา — จงอย่าเป็นเช่นนั้น, เต — แด่เธอ, วฺยถา — ปัญหา, มา — จงอย่าเป็นเช่นนั้น, — เช่นกัน, วิมูฒ-ภาวห์ — สับสน, ทฺฤษฺฏฺวา — จากการเห็น, รูปมฺ — รูปลักษณ์, โฆรมฺ — น่ากลัว, อีทฺฤกฺ — ตามความจริง, มม — ของข้า, อิทมฺ — นี้, วฺยเปต-ภีห์ — ปราศจากความกลัวทั้งหมด, ปฺรีต-มนาห์ — ทำให้จิตใจยินดี, ปุนห์ — อีกครั้งหนึ่ง, ตฺวมฺ — เธอ, ตตฺ — นั้น, เอว — ดังนั้น, เม — ของข้า, รูปมฺ — รูปลักษณ์, อิทมฺ — นี้, ปฺรปศฺย — จงดู

คำแปล

จากการเห็นรูปลักษณ์อันน่ากลัวของข้านี้ทำให้เธอยุ่งเหยิงและสับสน บัดนี้ขอให้จบลง สาวกของข้าเป็นอิสระจากสิ่งรบกวนทั้งหลายอีกครั้ง ด้วยจิตที่สงบ เธอจะสามารถเห็นรูปลักษณ์ที่เธอปรารถนา บัดนี้

คำอธิบาย

ในตอนต้นของ ภควัท-คีตา อรฺชุน ทรงรู้สึกวิตกกังวลเกี่ยวกับการสังหาร ภีษฺม และ โทฺรณ ผู้เป็นเสด็จปู่และอาจารย์ที่เคารพบูชา แต่องค์กฺฤษฺณตรัสว่าไม่จำเป็นต้องกลัวการสังหารเสด็จปู่เพราะเมื่อตอนที่โอรสของ ธฺฤตราษฺฏฺร พยายามเปลื้องผ้าพระนาง เทฺราปที ในที่ชุมนุมของเหล่า กุรุ ภีษฺม และ โทฺรณ มิได้ปริปากเลย จากการละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่เช่นนี้ทั้งคู่สมควรถูกสังหาร องค์กฺฤษฺณทรงแสดงรูปลักษณ์จักรวาลแด่ อรฺชุน เพื่อแสดงให้เห็นว่าบุคคลเหล่านี้ถูกสังหารเรียบร้อยแล้วจากการกระทำที่ผิดกฎหมาย ที่แสดงเหตุการณ์นั้นให้ อรฺชุน เห็นเพราะว่าสาวกมีความสงบอยู่เสมอและไม่สามารถกระทำสิ่งที่ร้ายกาจเช่นนี้ จุดมุ่งหมายในการเปิดเผยรูปลักษณ์จักรวาลแสดงให้เห็นว่าบัดนี้ อรฺชุน ทรงปรารถนาที่จะเห็นรูปลักษณ์สี่กรและองค์กฺฤษฺณจะทรงแสดงให้เห็น สาวกไม่สนใจกับรูปลักษณ์จักรวาลเท่าใดนักเพราะไม่สามารถแลกเปลี่ยนความรู้สึกในความรักได้ สาวกปรารถนาจะถวายความเคารพบูชาด้วยความรู้สึกหรือปรารถนาจะเห็นรูปลักษณ์สองกรขององค์กฺฤษฺณก็เพื่อที่จะสามารถแลกเปลี่ยนในการรับใช้ด้วยความรักต่อองค์ภควานฺ