ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบเอ็ด

รูปลักษณ์จักรวาล

โศลก 5

śrī-bhagavān uvāca
paśya me pārtha rūpāṇi
śataśo ’tha sahasraśaḥ
nānā-vidhāni divyāni
nānā-varṇākṛtīni ca
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ
ปศฺย เม ปารฺถ รูปาณิ
ศตโศ ’ถ สหสฺรศห์
นานา-วิธานิ ทิวฺยานิ
นานา-วรฺณากฺฤตีนิ จ
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ — องค์ภควานฺตรัส, ปศฺย — จงดู, เม — ของข้า, ปารฺถ — โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา, รูปาณิ — รูปลักษณ์ต่างๆ, ศตศห์ — เป็นร้อยๆ, อถ — เช่นกัน, สหสฺรศห์ — เป็นพันๆ, นานา-วิธานิ — หลากหลาย, ทิวฺยานิ — ทิพย์, นานา — หลากหลาย, วรฺณ — หลากสี, อากฺฤตีนิ — รูปลักษณ์ต่างๆ, — เช่นกัน

คำแปล

องค์ภควานฺตรัสว่า อรฺชุน ที่รัก โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา บัดนี้จงดูความมั่งคั่งของข้า รูปลักษณ์ทิพย์ที่มีสีสันหลากหลายเป็นจำนวนร้อยๆพันๆรูป

คำอธิบาย

อรฺชุน ทรงปรารถนาที่จะเห็นองค์กฺฤษฺณในรูปลักษณ์จักรวาล ถึงแม้ว่าเป็นรูปลักษณ์ทิพย์แต่ทรงปรากฏเพื่อปรากฏการณ์ในจักรวาลจึงอยู่ภายใต้การกำหนดของกาลเวลาที่ไม่ถาวรแห่งธรรมชาติวัตถุนี้เช่นเดียวกับธรรมชาติวัตถุที่ปรากฏและไม่ปรากฏ รูปลักษณ์จักรวาลขององค์กฺฤษฺณนี้ก็ทรงปรากฏและไม่ปรากฏ รูปลักษณ์นี้มิได้สถิตในท้องฟ้าทิพย์ชั่วนิรันดรเหมือนกับรูปลักษณ์อื่นๆขององค์กฺฤษฺณ สาวกไม่มีความปรารถนาที่จะเห็นรูปลักษณ์จักรวาล แต่เนื่องจาก อรฺชุน ทรงปรารถนาที่จะเห็นองค์กฺฤษฺณในรูปนี้องค์กฺฤษฺณจึงทรงเปิดเผยให้เห็น รูปลักษณ์จักรวาลนี้เป็นรูปลักษณ์ที่ปุถุชนคนธรรมดาไม่สามารถเห็นได้ องค์กฺฤษฺณทรงต้องเป็นผู้ประทานพลังในการเห็นแก่ผู้นั้นจึงจะสามารถเห็นได้