ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบเอ็ด

รูปลักษณ์จักรวาล

โศลก 7

ihaika-sthaṁ jagat kṛtsnaṁ
paśyādya sa-carācaram
mama dehe guḍākeśa
yac cānyad draṣṭum icchasi
อิไหก-สฺถํ ชคตฺ กฺฤตฺสฺนํ
ปศฺยาทฺย ส-จราจรมฺ
มม เทเห คุฑาเกศ
ยจฺ จานฺยทฺ ทฺรษฺฏุมฺ อิจฺฉสิ
อิห — ในนี้, เอก-สฺถมฺ — ในที่หนึ่ง, ชคตฺ — จักรวาล, กฺฤตฺสฺนมฺ — สมบูรณ์, ปศฺย — เห็น, อทฺย — ทันที, — กับ, จร — เคลื่อนที่, อจรมฺ — ไม่เคลื่อนที่, มม — ของข้า, เทเห — ในร่างกายนี้, คุฑาเกศ — โอ้ อรฺชุน, ยตฺ — ซึ่ง, — เช่นกัน, อนฺยตฺ — ผู้อื่น, ทฺรษฺฏุมฺ — เห็น, อิจฺฉสิ — เธอปรารถนา

คำแปล

โอ้ อรฺชุน สิ่งใดที่เธอปรารถนาจะเห็น จงดูในร่างนี้ของข้าได้ทันที รูปลักษณ์จักรวาลนี้สามารถที่จะแสดงทุกสิ่งทุกอย่างที่เธอปรารถนาจะเห็น และทุกสิ่งทุกอย่างที่เธอปรารถนาจะเห็นในอนาคต บัดนี้ ทุกสิ่งทุกอย่างทั้งเคลื่อนที่และไม่เคลื่อนที่ได้มาอยู่ตรงนี้ อยู่ในสถานที่เดียวกันอย่างสมบูรณ์

คำอธิบาย

ไม่มีผู้ใดสามารถเห็นจักรวาลทั้งหมดขณะที่นั่งอยู่ที่เดียวได้ แม้นักวิทยาศาสตร์ผู้ก้าวหน้าที่สุดก็ไม่สามารถเห็นสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในส่วนอื่นของจักรวาลได้แต่สาวกเช่น อรฺชุน ทรงสามารถเห็นทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในส่วนต่างๆของจักรวาล องค์กฺฤษฺณทรงให้พลังอำนาจในการเห็นทุกสิ่งทุกอย่างที่ อรฺชุน ทรงปรารถนาจะเห็นทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ดังนั้นด้วยพระเมตตาธิคุณขององค์กฺฤษฺณ อรฺชุน จึงทรงสามารถเห็นทุกสิ่งทุกอย่างได้