ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สิบสอง
การอุทิศตนเสียสละรับใช้
โศลก 13-14
adveṣṭā sarva-bhūtānāṁ
maitraḥ karuṇa eva ca
nirmamo nirahaṅkāraḥ
sama-duḥkha-sukhaḥ kṣamī
maitraḥ karuṇa eva ca
nirmamo nirahaṅkāraḥ
sama-duḥkha-sukhaḥ kṣamī
อเทฺวษฺฏา สรฺว-ภูตานำ
ไมตฺรห์ กรุณ เอว จ
นิรฺมโม นิรหงฺการห์
สม-ทุห์ข-สุขห์ กฺษมี
ไมตฺรห์ กรุณ เอว จ
นิรฺมโม นิรหงฺการห์
สม-ทุห์ข-สุขห์ กฺษมี
santuṣṭaḥ satataṁ yogī
yatātmā dṛḍha-niścayaḥ
mayy arpita-mano-buddhir
yo mad-bhaktaḥ sa me priyaḥ
yatātmā dṛḍha-niścayaḥ
mayy arpita-mano-buddhir
yo mad-bhaktaḥ sa me priyaḥ
สนฺตุษฺฏห์ สตตํ โยคี
ยตาตฺมา ทฺฤฒ-นิศฺจยห์
มยฺยฺ อรฺปิต-มโน-พุทฺธิรฺ
โย มทฺ-ภกฺตห์ ส เม ปฺริยห์
ยตาตฺมา ทฺฤฒ-นิศฺจยห์
มยฺยฺ อรฺปิต-มโน-พุทฺธิรฺ
โย มทฺ-ภกฺตห์ ส เม ปฺริยห์
อเทฺวษฺฏา — ไม่อิจฉาริษยา, สรฺว-ภูตานามฺ — ต่อมวลชีวิต, ไมตฺรห์ — เป็นมิตร, กรุณห์ — กรุณา, เอว — แน่นอน, จ — เช่นกัน, นิรฺมมห์ — ไม่สำคัญตัวว่าเป็นเจ้าของ, นิรหงฺการห์ — ปราศจากอหังการ, สม — เสมอภาค, ทุห์ข — ในความทุกข์, สุขห์ — และความสุข, กฺษมี — ให้อภัย, สนฺตุษฺฏห์ — พึงพอใจ, สตตมฺ — เสมอ, โยคี — ผู้ปฏิบัติในการอุทิศตนเสียสละ, ยต-อาตฺมา — ควบคุมตนเอง, ทฺฤฒ-นิศฺจยห์ — ด้วยความมุ่งมั่น, มยิ — แด่ข้า, อรฺปิต — ปฏิบัติ, มนห์ — จิตใจ, พุทฺธิห์ — และปัญญา, ยห์ — ผู้ซึ่ง, มตฺ-ภกฺตห์ — สาวกของข้า, สห์ — เขา, เม — แก่ข้า, ปฺริยห์ — ที่รัก
คำแปล
ผู้ที่ไม่อิจฉาริษยาแต่เป็นเพื่อนผู้มีความกรุณาต่อมวลชีวิต
คำอธิบาย
เรามาถึงจุดแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่บริสุทธิ์อีกครั้งหนึ่ง องค์ภควานฺทรงอธิบายคุณลักษณะทิพย์ของสาวกผู้บริสุทธิ์ด้วยสองโศลกนี้ สาวกผู้บริสุทธิ์ไม่เคยกังวลใจไม่ว่าในสถานการณ์ใดๆหรือว่าจะอิจฉาริษยาผู้ใด สาวกไม่เป็นศัตรูต่อศัตรูโดยคิดว่า “คนนี้ทำตัวเป็นศัตรูข้าก็เนื่องมาจากกรรมเก่าของข้าเอง ฉะนั้นจึงยอมรับทุกข์ดีกว่าที่จะต่อต้าน” ใน ศฺรีมทฺ-ภาควตมฺ (10.14.8) ได้กล่าวไว้ว่า ตตฺ เต ’นุกมฺปำ สุ-สมีกฺษมาโณ ภุญฺชาน เอวาตฺม-กฺฤตํ วิปากมฺ เมื่อใดที่สาวกมีความทุกข์หรือตกอยู่ในความยากลำบากจะคิดว่าเป็นพระเมตตาธิคุณขององค์ภควานฺที่มีต่อท่านโดยคิดว่า “ขอบคุณต่อกรรมเก่าของข้า ข้าควรได้รับทุกข์มากกว่าที่ได้รับในปัจจุบันนี้ นี่เป็นเพราะพระเมตตาขององค์ภควานฺจึงไม่ได้รับการลงโทษทั้งหมดที่ควรจะได้รับ ด้วยพระเมตตาธิคุณขององค์กฺฤษฺณข้าจึงได้รับโทษเพียงเล็กน้อยเท่านั้น” ดังนั้นจึงมีความสุขุม สงบ และอดทนเสมอ แม้จะอยู่ในสภาวะแห่งความทุกข์มากมายสาวกจะมีความกรุณาต่อทุกๆคนเสมอ แม้แต่ศัตรู นิรฺมม หมายถึงสาวกไม่ให้ความสำคัญกับความเจ็บปวดและปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับร่างกายมากนัก เพราะทราบดีว่าตัวท่านไม่ใช่ร่างกายวัตถุจึงไม่สำคัญตนเองว่าเป็นร่างกาย ดังนั้นจึงเป็นอิสระจากแนวคิดแห่งอหังการและเป็นกลางต่อความสุขและความทุกข์ มีความอดทน และพึงพอใจกับทุกสิ่งทุกอย่างที่มาสัมผัส ด้วยพระกรุณาธิคุณขององค์ภควานฺท่านไม่พยายามมากจนเกินไปเพื่อให้ได้รับบางสิ่งบางอย่างที่ยากลำบากมาก ดังนั้นจึงมีความร่าเริงเสมอ ท่านเป็นโยคีที่สมบูรณ์เพราะยึดมั่นในคำสั่งสอนที่ได้รับจากพระอาจารย์ทิพย์ และเนื่องจากสามารถควบคุมประสาทสัมผัสได้จึงมีความมั่นใจไม่เอนเอียงไปกับการถกเถียงที่ผิด เพราะว่าไม่มีผู้ใดสามารถนำพาให้ออกไปจากการอุทิศตนเสียสละรับใช้ที่ท่านมีความมั่นใจอย่างแน่วแน่ ท่านมีจิตสำนึกอย่างสมบูรณ์ว่าองค์กฺฤษฺณทรงเป็นองค์ภควานฺนิรันดรจึงไม่มีผู้ใดสามารถรบกวนจิตใจได้ คุณลักษณะทั้งหลายเหล่านี้ทำให้มีจิตใจและปัญญาตั้งมั่นอยู่ที่พระองค์โดยสมบูรณ์ มาตรฐานแห่งการอุทิศตนเสียสละเช่นนี้หาได้ยากมากโดยไม่ต้องสงสัย แต่สาวกสถิตในระดับนี้ด้วยการปฏิบัติตามหลักธรรมแห่งการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ยิ่งไปกว่านั้นองค์ภควานฺตรัสว่าสาวกเช่นนี้เป็นที่รักยิ่งของพระองค์ เพราะศฺรี กฺฤษฺณทรงชื่นชมยินดีเสมอกับกิจกรรมทั้งหมดของสาวกในกฺฤษฺณจิตสำนึกที่สมบูรณ์