ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบสอง

การอุทิศตนเสียสละรับใช้

โศลก 15

yasmān nodvijate loko
lokān nodvijate ca yaḥ
harṣāmarṣa-bhayodvegair
mukto yaḥ sa ca me priyaḥ
ยสฺมานฺ โนทฺวิชเต โลโก
โลกานฺ โนทฺวิชเต จ ยห์
หรฺษามรฺษ-ภโยเทฺวไครฺ
มุกฺโต ยห์ ส จ เม ปฺริยห์
ยสฺมาตฺ — จากผู้ซึ่ง, — ไม่เคย, อุทฺวิชเต — ร้อนใจ, โลกห์ — ผู้คน, โลกาตฺ — จากผู้คน, — ไม่เคย, อุทฺวิชเต — กระวนกระวายใจ, — เช่นกัน, ยห์ — ผู้ใดซึ่ง, หรฺษ — จากความสุข, อมรฺษ — ความทุกข์, ภย — ความกลัว, อุเทฺวไคห์ — และความวิตกกังวล, มุกฺตห์ — เป็นอิสระ, ยห์ — ผู้ซึ่ง, สห์ — ผู้ใด, — เช่นกัน, เม — แด่ข้า, ปฺริยห์ — เป็นที่รักยิ่ง

คำแปล

ผู้ที่ไม่มีผู้ใดสามารถทำให้เขาตกอยู่ในความลำบาก และไม่มีผู้ใดสามารถรบกวนจิตใจเขาได้ ผู้ที่มีความเป็นกลางทั้งในความสุขและความทุกข์ ทั้งความกลัวและความวิตกกังวล เป็นที่รักยิ่งของข้า

คำอธิบาย

คุณลักษณะบางประการของสาวกได้อธิบายต่อไปอีกคือ ไม่มีผู้ใดสามารถทำให้ท่านตกอยู่ในความยากลำบาก วิตกกังวล กลัว หรือไม่พึงพอใจ เนื่องจากสาวกมีความกรุณาต่อทุกคนจึงไม่ทำสิ่งใดที่จะทำให้ผู้อื่นมีความวิตกกังวล ในขณะเดียวกันหากผู้อื่นพยายามทำให้สาวกวิตกกังวล ท่านจะไม่เร่าร้อนใจด้วยพระกรุณาธิคุณขององค์ภควานฺทำให้ท่านปฏิบัติจนไม่ได้รับความวุ่นวายใจจากสิ่งรบกวนภายนอก อันที่จริงเนื่องจากสาวกเพลินอยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกเสมอและปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ สถานการณ์ทางวัตถุเช่นนี้ไม่ทำให้ท่านหวั่นไหว โดยทั่วไปนักวัตถุนิยมจะมีความสุขมากเมื่อได้รับบางสิ่งบางอย่างที่มาสนองประสาทสัมผัส สนองร่างกาย และเมื่อเห็นว่าคนอื่นได้รับบางสิ่งบางอย่างเพื่อสนองประสาทสัมผัสแต่ตนเองไม่ได้รับจะเสียใจและอิจฉาริษยา เมื่อคาดว่าศัตรูจะมาแก้แค้นก็จะอยู่ในความกลัว และเมื่อไม่สามารถทำบางอย่างให้ประสบผลสำเร็จก็จะเศร้าสลด สาวกผู้เป็นทิพย์อยู่เหนือสิ่งรบกวนทั้งหลายเหล่านี้เสมอเป็นที่รักยิ่งขององค์กฺฤษฺณ