ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบสาม

ธรรมชาติ ผู้รื่นเริง และจิตสำนึก

โศลก 1-2

arjuna uvāca
prakṛtiṁ puruṣaṁ caiva
kṣetraṁ kṣetra-jñam eva ca
etad veditum icchāmi
jñānaṁ jñeyaṁ ca keśava
อรฺชุน อุวาจ
ปฺรกฺฤตึ ปุรุษํ ไจว
กฺเษตฺรํ เกฺษตฺร-ชฺญมฺ เอว จ
เอตทฺ เวทิตุมฺ อิจฺฉามิ
ชฺญานํ เชฺญยํ จ เกศว
śrī-bhagavān uvāca
idaṁ śarīraṁ kaunteya
kṣetram ity abhidhīyate
etad yo vetti taṁ prāhuḥ
kṣetra-jña iti tad-vidaḥ
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ
อิทํ ศรีรํ เกานฺเตย
กฺเษตฺรมฺ อิตฺยฺ อภิธียเต
เอตทฺ โย เวตฺติ ตํ ปฺราหุห์
กฺเษตฺร-ชฺญ อิติ ตทฺ-วิทห์
อรฺชุนห์ อุวาจอรฺชุน ตรัสว่า, ปฺรกฺฤติมฺ — ธรรมชาติ, ปุรุษมฺ — ผู้รื่นเริง, — เช่นกัน, เอว — แน่นอน, กฺเษตฺรมฺ — สนาม, กฺเษตฺร-ชฺญมฺ — ผู้รู้สนาม, เอว — แน่นอน, — เช่นกัน, เอตตฺ — ทั้งหมดนี้, เวทิตุมฺ — เข้าใจ, อิจฺฉามิ — ข้าพเจ้าปรารถนา, ชฺญานมฺ — ความรู้, ชฺเญยมฺ — เป้าหมายของความรู้, — เช่นกัน, เกศว — โอ้ กฺฤษฺณ, ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ — องค์ภควานตรัส, อิทมฺ — นี้, ศรีรมฺ — ร่างกาย, เกานฺเตย — โอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี, กฺเษตฺรมฺ — สนาม, อิติ — ดังนั้น, อภิธียเต — เรียกว่า, เอตตฺ — นี้, ยห์ — ผู้ซึ่ง, เวตฺติ — รู้, ตมฺ — เขา, ปฺราหุห์ — เรียกว่า, กฺเษตฺร-ชฺญห์ — ผู้รู้สนาม, อิติ — ดังนั้น, ตตฺ-วิทห์ — โดยพวกที่รู้สิ่งนี้

คำแปล

อรฺชุน ตรัสว่า โอ้ กฺฤษฺณ ที่รัก ข้าปรารถนาจะรู้เกี่ยวกับ ปฺรกฺฤติ (ธรรมชาติ) ปุรุษ (ผู้รื่นเริง) สนาม และผู้รู้สนาม ความรู้ และจุดมุ่งหมายแห่งความรู้ องค์ภควานตรัสว่า โอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี ร่างกายนี้เรียกว่าสนาม และผู้ที่รู้ร่างกายนี้เรียกว่าผู้รู้สนาม

คำอธิบาย

อรฺชุน ทรงถามเกี่ยวกับ ปฺรกฺฤติ (ธรรมชาติ) ปุรุษ (ผู้รื่นเริง) กฺเษตฺร (สนาม) กฺเษตฺร-ชฺญ (ผู้รู้สนาม) ความรู้และจุดมุ่งหมายแห่งความรู้ เมื่อทรงถามทั้งหมดนี้องค์กฺฤษฺณตรัสว่าร่างกายนี้เรียกว่า สนาม และผู้รู้ร่างกายนี้เรียกว่า ผู้รู้สนาม ร่างกายนี้เป็นสนามแห่งกิจกรรมสำหรับพันธวิญญาณ พันธวิญญาณได้มาติดกับอยู่ในความเป็นอยู่ทางวัตถุ พยายามเป็นเจ้าและครอบครองธรรมชาติวัตถุตามกำลังความสามารถของตนจึงได้รับสนามแห่งกิจกรรม สนามแห่งกิจกรรมนี้คือร่างกาย และร่างกายนี้คืออะไร ร่างกายประกอบไปด้วยประสาทสัมผัสต่างๆ พันธวิญญาณปรารถนาจะรื่นเริงอยู่กับการสนองประสาทสัมผัสตามกำลังความสามารถที่จะรื่นเริงกับการสนองประสาทสัมผัส เราจึงได้รับร่างกายหรือสนามแห่งกิจกรรมมา ดังนั้นร่างกายจึงเรียกว่า กฺเษตฺร หรือสนามแห่งกิจกรรมสำหรับพันธวิญญาณ เช่นนี้บุคคลที่สำคัญตนเองกับร่างกายเรียกว่า กฺเษตฺร-ชฺญ หรือผู้รู้สนาม การที่จะเข้าใจข้อแตกต่างระหว่างสนามและผู้รู้สนามมิใช่เป็นสิ่งลำบาก ร่างกายและผู้รู้ร่างกายใครๆก็สามารถพิจารณาได้ ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยชราเราได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงของร่างกายมามากมาย แต่เรายังคงเป็นบุคคลเดิม ดังนั้นจึงมีข้อแตกต่างระหว่างผู้รู้สนามแห่งกิจกรรมและตัวสนามแห่งกิจกรรม พันธวิญญาณผู้มีชีวิตสามารถเข้าใจว่าตนเองแตกต่างไปจากร่างกาย ได้อธิบายไว้ในตอนต้นว่า เทหิโน ’สฺมินฺ สิ่งมีชีวิตอยู่ภายในร่างกายและร่างกายเปลี่ยนแปลงจากทารกมาเป็นเด็ก จากเด็กมาเป็นหนุ่มสาว และจากหนุ่มสาวมาเป็นผู้สูงอายุ ผู้ที่เป็นเจ้าของร่างกายรู้ว่าร่างกายนี้เปลี่ยนแปลงเจ้าของคือ กฺเษตฺร-ชฺญ ที่แตกต่างออกไป บางครั้งเราคิดว่า “ฉันมีความสุข” “ฉันเป็นผู้ชาย” “ฉันเป็นผู้หญิง” “ฉันเป็นสุนัข” “ฉันเป็นแมว” เหล่านี้เป็นชื่อระบุทางร่างกายของผู้รู้ แต่ผู้รู้แตกต่างไปจากร่างกายถึงแม้ว่าเราอาจใช้สิ่งของมากมาย เช่น เสื้อผ้าอาภรณ์ต่างๆ แต่เรารู้ว่าตัวเราแตกต่างไปจากสิ่งของที่เราใช้ ในทำนองเดียวกันจากการพิจารณาเพียงเล็กน้อยก็เข้าใจได้ว่าเราแตกต่างไปจากร่างกาย อาตมา ท่าน หรือผู้ใดที่เป็นเจ้าของร่างกายเรียกว่า กฺเษตฺร-ชฺญ หรือผู้รู้สนามแห่งกิจกรรม และร่างกายเรียกว่า กฺเษตฺร หรือตัวสนามแห่งกิจกรรม

ในหกบทแรกของ ภควัท-คีตา ได้อธิบายถึงผู้รู้ร่างกาย (สิ่งมีชีวิต) และตำแหน่งที่เขาสามารถเข้าใจองค์ภควานฺ ในหกบทกลางของ ภควัท-คีตา ได้อธิบายถึงบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าและความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกวิญญาณและอภิวิญญาณซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ได้นิยามสถานภาพที่สูงกว่าขององค์ภควานฺและสถานภาพที่ด้อยกว่าของปัจเจกวิญญาณอย่างชัดเจนในบทเหล่านี้ เนื่องจากลืมไปว่าตนเองด้อยกว่าในทุกๆสถานการณ์สิ่งมีชีวิตจึงได้รับทุกข์ เมื่อสว่างไสวขึ้นด้วยบุญบารมีสิ่งมีชีวิตจึงเข้าพบองค์ภควานฺในสภาวะที่แตกต่างกัน เช่น สภาวะที่มีความทุกข์ สภาวะที่ต้องการเงิน สภาวะชอบถาม และสภาวะที่แสวงหาความรู้ซึ่งได้อธิบายไว้เช่นกัน จากบทที่สิบสามจะอธิบายว่าสิ่งมีชีวิตมาสัมผัสกับธรรมชาติวัตถุได้อย่างไร และองค์ภควานฺทรงจัดส่งเขาด้วยวิธีต่างๆอย่างไรโดยผ่านทางกิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุ การพัฒนาความรู้และการปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ถึงแม้ว่าสิ่งมีชีวิตแตกต่างจากร่างกายวัตถุโดยสิ้นเชิงแต่ก็มีความสัมพันธ์กัน ประเด็นนี้ได้อธิบายไว้เช่นเดียวกัน