ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบสาม

ธรรมชาติ ผู้รื่นเริง และจิตสำนึก

โศลก 16

bahir antaś ca bhūtānām
acaraṁ caram eva ca
sūkṣmatvāt tad avijñeyaṁ
dūra-sthaṁ cāntike ca tat
พหิรฺ อนฺตศฺ จ ภูตานามฺ
อจรํ จรมฺ เอว จ
สูกฺษฺมตฺวาตฺ ตทฺ อวิชฺเญยํ
ทูร-สฺถํ จานฺติเก จ ตตฺ
พหิห์ — ข้างนอก, อนฺตห์ — ข้างใน, — เช่นกัน, ภูตานามฺ — ของมวลชีวิต, อจรมฺ — ไม่เคลื่อนที่, จรมฺ — เคลื่อนที่, เอว — เช่นกัน, — และ, สูกฺษฺมตฺวาตฺ — เนื่องจากมีความละเอียดอ่อน, ตตฺ — นั้น, อวิชฺเญยมฺ — ไม่สามารถรู้ได้, ทูร-สฺถมฺ — ไกลมาก, — เช่นกัน, อนฺติเก — ใกล้, — และ, ตตฺ — นั้น

คำแปล

สัจธรรมสูงสุดทรงอยู่ภายนอกและภายในของมวลชีวิต ทั้งที่เคลื่อนที่และไม่เคลื่อนที่ เนื่องจากพระองค์ทรงมีความละเอียดอ่อนจึงทรงอยู่เหนือพลังอำนาจของประสาทสัมผัสวัตถุที่จะเห็นหรือจะรู้ได้ ถึงแม้ว่าทรงอยู่ไกลแสนไกลพระองค์ก็ทรงอยู่ใกล้กับมวลชีวิต

คำอธิบาย

ในวรรณกรรมพระเวทเราเข้าใจว่าองค์ภควานฺ นารายณ ทรงประทับอยู่ทั้งภายนอกและภายในของทุกๆชีวิต พระองค์ทรงประทับอยู่ทั้งในโลกทิพย์และในโลกวัตถุ ถึงแม้ว่าทรงอยู่ห่างไกลจากเรามากแต่ก็ทรงอยู่ใกล้กับพวกเราเช่นกัน นี่คือข้อความจากวรรณกรรมพระเวท อาสีโน ทูรํ วฺรชติ ศยาโน ยาติ สรฺวตห์ (กฐ อุปนิษทฺ 1.2.21) เนื่องจากพระองค์ทรงมีความสุขเกษมสำราญทิพย์เสมอ เราไม่สามารถเข้าใจว่าทรงรื่นเริงอยู่กับความมั่งคั่งอันสมบูรณ์ของพระองค์ได้อย่างไร เราไม่สามารถเห็นหรือเข้าใจด้วยประสาทสัมผัสวัตถุเหล่านี้ ดังนั้นในภาษาพระเวท กล่าวไว้ว่า ในการเข้าใจพระองค์นั้นจิตใจและประสาทสัมผัสวัตถุของเราใช้ไม่ได้ แต่ผู้ที่มีจิตใจและประสาทสัมผัสที่บริสุทธิ์ด้วยการปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึกในการอุทิศตนเสียสละรับใช้จะสามารถเห็นพระองค์อยู่ตลอดเวลา ได้ยืนยันไว้ใน พฺรหฺม-สํหิตา ว่าสาวกผู้พัฒนาความรักต่อองค์ภควานฺจะสามารถเห็นพระองค์ตลอดเวลา และได้ยืนยันไว้ใน ภควัท-คีตา (11.54) ว่าการอุทิศตนเสียสละรับใช้เท่านั้นที่สามารถทำให้เข้าใจองค์ภควานฺได้ ภกฺตฺยา ตฺวฺ อนนฺยยา ศกฺยห์