ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบสาม

ธรรมชาติ ผู้รื่นเริง และจิตสำนึก

โศลก 19

iti kṣetraṁ tathā jñānaṁ
jñeyaṁ coktaṁ samāsataḥ
mad-bhakta etad vijñāya
mad-bhāvāyopapadyate
อิติ เกฺษตฺรํ ตถา ชฺญานํ
ชฺเญยํ โจกฺตํ สมาสตห์
มทฺ-ภกฺต เอตทฺ วิชฺญาย
มทฺ-ภาวาโยปปทฺยเต
อิติ — ดังนั้น, กฺเษตฺรมฺ — สนามแห่งกิจกรรม (ร่างกาย), ตถา — เช่นกัน, ชฺญานมฺ — ความรู้, ชฺเญยมฺ — สิ่งรู้, — เช่นกัน, อุกฺตมฺ — อธิบาย, สมาสตห์ — โดยสรุป, มตฺ-ภกฺตห์ — สาวกของข้า, เอตตฺ — ทั้งหมดนี้, วิชฺญาย — หลังจากเข้าใจ, มตฺ-ภาวาย — ธรรมชาติของข้า, อุปปทฺยเต — บรรลุ

คำแปล

ดังนั้นข้าได้อธิบายโดยสรุปถึงสนามแห่งกิจกรรม (ร่างกาย) ความรู้ และสิ่งที่รู้ได้ บรรดาสาวกของข้าเท่านั้นที่สามารถเข้าใจโดยตลอด และบรรลุถึงธรรมชาติของข้า

คำอธิบาย

องค์ภควานฺทรงอธิบายโดยสรุปถึงร่างกาย ความรู้ และสิ่งรู้ ความรู้นี้ประกอบด้วยสามสิ่งคือ ผู้รู้ สิ่งที่รู้ได้ และวิธีที่จะรู้ ทั้งหมดนี้รวมกันเข้าเรียกว่า วิชฺญาน หรือศาสตร์แห่งความรู้ สาวกผู้บริสุทธิ์ขององค์ภควานฺโดยตรงจึงสามารถเข้าใจความรู้โดยสมบูรณ์ บุคคลอื่นไม่สามารถเข้าใจได้ พวกที่เชื่อว่าเป็นหนึ่งเดียวกันกล่าวว่าในระดับท้ายสุดทั้งสามสิ่งนี้กลายมาเป็นหนึ่ง แต่เหล่าสาวกไม่ยอมรับเช่นนี้ ความรู้และการพัฒนาความรู้หมายความว่าเข้าใจตนเองในกฺฤษฺณจิตสำนึก เราได้ถูกวัตถุจิตสำนึกนำพาไปแต่ทันทีที่เราย้ายจิตสำนึกทั้งหมดมาที่กิจกรรมขององค์กฺฤษฺณ และรู้แจ้งว่าองค์กฺฤษฺณคือทุกสิ่งทุกอย่างตรงนี้จะทำให้เราบรรลุถึงความรู้ที่แท้จริง อีกนัยหนึ่งความรู้มิใช่อะไรอื่นใดนอกจากระดับพื้นฐานแห่งความเข้าใจการอุทิศตนเสียสละรับใช้โดยสมบูรณ์ ในบทที่สิบห้าจะอธิบายประเด็นนี้อย่างชัดเจน

โดยสรุปเราอาจเข้าใจว่าโศลก 6 และโศลก 7 เริ่มจาก มหา-ภูตานิ มาจนถึง เจตนา ธฺฤติห์ ได้วิเคราะห์ธาตุวัตถุต่างๆ และปรากฏการณ์บางอย่างของลักษณะอาการแห่งชีวิตรวมกันเข้าเป็นร่างกายหรือสนามแห่งกิจกรรม และโศลก 8 ถึงโศลก 12 จาก อมานิตฺวมฺ จนถึง ตตฺตฺว-ชฺญานารฺถ-ทรฺศนมฺ ได้อธิบายถึงกระบวนการเพื่อทำความเข้าใจผู้รู้ทั้งสองประเภท คือปัจเจกวิญญาณและอภิวิญญาณ จากนั้นโศลก 13 ถึงโศลก 18 เริ่มจาก อนาทิ มตฺ-ปรมฺ มาจนถึง หฺฤทิ สรฺวสฺย วิษฺฐิตมฺ ได้อธิบายถึงดวงวิญญาณและองค์ภควานฺหรืออภิวิญญาณ

ได้อธิบายถึงสามประเด็นดังนี้ สนามแห่งกิจกรรม (ร่างกาย) วิธีแห่งการเข้าใจทั้งดวงวิญญาณ และอภิวิญญาณ ตรงนี้ได้อธิบายโดยเฉพาะว่าเหล่าสาวกผู้บริสุทธิ์ของพระองค์เท่านั้นจึงสามารถเข้าใจสามประเด็นนี้อย่างชัดเจน ดังนั้นสาวกเหล่านี้จะได้รับประโยชน์จาก ภควัท-คีตา อย่างสมบูรณ์ และสามารถบรรลุถึงจุดมุ่งหมายสูงสุดนั่นคือธรรมชาติขององค์ภควานฺ ศฺรี กฺฤษฺณ อีกนัยหนึ่งสาวกเท่านั้นที่จะสามารถเข้าใจ ภควัท-คีตา และได้รับผลสมดังใจปรารถนามิใช่บุคคลอื่น