ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบสาม

ธรรมชาติ ผู้รื่นเริง และจิตสำนึก

โศลก 24

ya evaṁ vetti puruṣaṁ
prakṛtiṁ ca guṇaiḥ saha
sarvathā vartamāno ’pi
na sa bhūyo ’bhijāyate
ย เอวํ เวตฺติ ปุรุษํ
ปฺรกฺฤตึ จ คุไณห์ สห
สรฺวถา วรฺตมาโน ’ปิ
น ส ภูโย ’ภิชายเต
ยห์ — ผู้ใดซึ่ง, เอวมฺ — ดังนั้น, เวตฺติ — เข้าใจ, ปุรุษมฺ — สิ่งมีชีวิต, ปฺรกฺฤติมฺ — ธรรมชาติวัตถุ, — และ, คุไณห์ — ระดับต่างๆของธรรมชาติวัตถุ, สห — กับ, สรฺวถา — ในทุกๆวิธี, วรฺตมานห์ — สถิต, อปิ — ถึงแม้ว่า, — ไม่เคย, สห์ — เขา, ภูยห์ — อีกครั้งหนึ่ง, อภิชายเต — เกิด

คำแปล

ผู้เข้าใจปรัชญาเกี่ยวกับธรรมชาติวัตถุ สิ่งมีชีวิต และผลกระทบซึ่งกันและกันของระดับต่างๆแห่งธรรมชาตินี้ แน่นอนว่าจะได้รับอิสรภาพ เขาจะไม่มาเกิดที่นี่อีกไม่ว่าสถานภาพปัจจุบันจะเป็นเช่นไรก็ตาม

คำอธิบาย

การเข้าใจธรรมชาติวัตถุ อภิวิญญาณ ปัจเจกวิญญาณ และผลกระทบซึ่งกันและกันของทั้งหมดนี้อย่างชัดเจนนั้นจะทำให้มีสิทธิ์ได้รับเสรีภาพ และกลับคืนสู่บรรยากาศทิพย์โดยไม่ต้องถูกบังคับให้กลับคืนมาสู่ธรรมชาติวัตถุนี้อีก นั่นคือผลแห่งความรู้ จุดมุ่งหมายแห่งความรู้คือการเข้าใจอย่างชัดเจนว่า โดยบังเอิญแล้วนั้นสิ่งมีชีวิตได้ตกลงมามีความเป็นอยู่ทางวัตถุนี้ แต่ด้วยความพยายามส่วนตัวที่มาคบหาสมาคมกับบุคคลผู้เชื่อถือได้ เช่น นักบุญและพระอาจารย์ทิพย์ทำให้เข้าใจสถานภาพของตนเอง จากนั้นก็กลับคืนไปสู่จิตสำนึกทิพย์ หรือกฺฤษฺณจิตสำนึกด้วยการเข้าใจ ภควัท-คีตา ตามที่องค์ภควานฺทรงอธิบาย จึงจะเป็นที่แน่นอนว่าเราจะไม่กลับมามีความเป็นอยู่ทางวัตถุนี้อีกครั้ง และจะถูกย้ายไปยังโลกทิพย์เพื่อชีวิตอมตะที่มีความปลื้มปีติสุขและเปี่ยมไปด้วยความรู้