ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สิบสาม
ธรรมชาติ ผู้รื่นเริง และจิตสำนึก
โศลก 28
samaṁ sarveṣu bhūteṣu
tiṣṭhantaṁ parameśvaram
vinaśyatsv avinaśyantaṁ
yaḥ paśyati sa paśyati
tiṣṭhantaṁ parameśvaram
vinaśyatsv avinaśyantaṁ
yaḥ paśyati sa paśyati
สมํ สเรฺวษุ ภูเตษุ
ติษฺฐนฺตํ ปรเมศฺวรมฺ
วินศฺยตฺสฺวฺ อวินศฺยนฺตํ
ยห์ ปศฺยติ ส ปศฺยติ
ติษฺฐนฺตํ ปรเมศฺวรมฺ
วินศฺยตฺสฺวฺ อวินศฺยนฺตํ
ยห์ ปศฺยติ ส ปศฺยติ
สมมฺ — เสมอภาค, สเรฺวษุ — ในทั้งหมด, ภูเตษุ — สิ่งมีชีวิต, ติษฺฐนฺ ตมฺ — อาศัยอยู่, ปรม-อีศฺวรมฺ — องค์อภิวิญญาณ, วินศฺยตฺสุ — ในการทำลาย, อวินศฺยนฺตมฺ — ไม่ถูกทำลาย, ยห์ — ผู้ใดซึ่ง, ปศฺยติ — เห็น, สห์ — เขา, ปศฺยติ — เห็นโดยแท้จริง
คำแปล
ผู้เห็นองค์อภิวิญญาณพร้อมกับปัจเจกวิญญาณในทุกๆร่าง
คำอธิบาย
ผู้ใดคบกัลยาณมิตรจะสามารถเห็นสามสิ่งรวมกันคือ ร่างกาย เจ้าของร่างกายหรือปัจเจกวิญญาณ และสหายของปัจเจกวิญญาณ ผู้เห็นเช่นนี้เป็นผู้มีความรู้ที่แท้จริงนอกจากมาคบหาสมาคมกับผู้รู้วิชาทิพย์โดยแท้จริง มิฉะนั้นเราก็จะไม่สามารถเห็นสามสิ่งนี้ ผู้ที่ไม่มีการคบหาสมาคมเช่นนี้อยู่ในอวิชชา เพราะเห็นแต่เพียงร่างกายและคิดว่าเมื่อร่างกายถูกทำลายทุกสิ่งทุกอย่างก็จบลง อันที่จริงไม่เป็นเช่นนั้น หลังจากร่างกายถูกทำลายลงทั้งดวงวิญญาณและอภิวิญญาณยังคงอยู่ทั้งคู่ยังคงดำเนินต่อไปในร่างต่างๆมากมาย ทั้งเคลื่อนที่และไม่เคลื่อนที่ คำสันสกฤต ปรเมศฺวร บางครั้งแปลเป็น “ปัจเจกวิญญาณ” เพราะว่าดวงวิญญาณเป็นเจ้าของร่างกายและหลังจากร่างกายถูกทำลายลงดวงวิญญาณจะย้ายไปสู่อีกร่างหนึ่ง เช่นนี้เขาจะเป็นเจ้านายแต่มีผู้อื่นแปลคำว่า ปรเมศฺวร นี้เป็นอภิวิญญาณ ทั้งสองกรณี ทั้งอภิวิญญาณ และปัจเจกวิญญาณยังคงดำเนินต่อไป ทั้งคู่ไม่ถูกทำลายผู้สามารถเห็นเช่นนี้เป็นผู้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง