ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบสาม

ธรรมชาติ ผู้รื่นเริง และจิตสำนึก

โศลก 29

samaṁ paśyan hi sarvatra
samavasthitam īśvaram
na hinasty ātmanātmānaṁ
tato yāti parāṁ gatim
สมํ ปศฺยนฺ หิ สรฺวตฺร
สมวสฺถิตมฺ อีศฺวรมฺ
น หินสฺตฺยฺ อาตฺมนาตฺมานํ
ตโต ยาติ ปรำ คติมฺ
สมมฺ — เสมอภาค, ปศฺยนฺ — เห็น, หิ — แน่นอน, สรฺวตฺร — ทุกหนทุกแห่ง, สมวสฺถิตมฺ — สถิตเสมอภาค, อีศฺวรมฺ — อภิวิญญาณ, — ไม่, หินสฺติ — ตกต่ำ, อาตฺมนา — ด้วยจิต, อาตฺมานมฺ — ดวงวิญญาณ, ตตห์ — จากนั้น, ยาติ — มาถึง, ปรามฺ — ทิพย์, คติมฺ — จุดมุ่งหมาย

คำแปล

ผู้เห็นอภิวิญญาณปรากฏอยู่ทุกหนทุกแห่งอย่างเสมอภาคภายในทุกๆชีวิต ไม่ปล่อยให้จิตของตนทำให้ตัวเองตกลงต่ำ ดังนั้นเขาจึงบรรลุถึงจุดมุ่งหมายทิพย์

คำอธิบาย

จากการยอมรับความเป็นอยู่ทางวัตถุนั้นสิ่งมีชีวิตจึงมาสถิตแตกต่างจากความเป็นอยู่ทิพย์ของตน แต่เมื่อเข้าใจว่าองค์ภควานฺทรงสถิตในรูป ปรมาตฺมา อยู่ทุกหนทุกแห่ง นั่นหมายความว่าหากสามารถเห็นว่าบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงปรากฏอยู่ภายในทุกๆชีวิต เราจะไม่ทำตัวเองให้ตกต่ำด้วยความคิดในการทำลายจากนั้นจะค่อยๆพัฒนาไปสู่โลกทิพย์ โดยทั่วไปจิตใจจะเสพติดอยู่กับวิธีกรรมเพื่อสนองประสาทสัมผัส แต่เมื่อจิตใจหันไปหาองค์อภิวิญญาณเขาจะก้าวหน้าในความเข้าใจวิถีทิพย์