ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบสาม

ธรรมชาติ ผู้รื่นเริง และจิตสำนึก

โศลก 3

kṣetra-jñaṁ cāpi māṁ viddhi
sarva-kṣetreṣu bhārata
kṣetra-kṣetrajñayor jñānaṁ
yat taj jñānaṁ mataṁ mama
กฺเษตฺร-ชฺญํ จาปิ มำ วิทฺธิ
สรฺว-กฺเษเตฺรษุ ภารต
กฺเษตฺร-กฺเษตฺรชฺญโยรฺ ชฺญานํ
ยตฺ ตชฺ ชฺญานํ มตํ มม
กฺเษตฺร-ชฺญมฺ — ผู้รู้สนาม, — เช่นกัน, อปิ — แน่นอน, มามฺ — ข้า, วิทฺธิ — รู้, สรฺว — ทั้งหมด, กฺเษเตฺรษุ — ในสนามแห่งร่างกาย, ภารต — โอ้ โอรสแห่ง ภรต, กฺเษตฺร — สนามแห่งกิจกรรม (ร่างกาย), กฺเษตฺร-ชฺญโยห์ — และผู้รู้สนาม, ชฺญานมฺ — ความรู้แห่ง, ยตฺ — ซึ่ง, ตตฺ — นั้น, ชฺญานมฺ — ความรู้, มตมฺ — ความเห็น, มม — ของข้า

คำแปล

โอ้ ผู้สืบราชวงศ์แห่ง ภรต เธอควรเข้าใจว่าข้าเป็นผู้รู้ร่างกายทั้งหมดเช่นกัน การเข้าใจร่างกายและผู้รู้ร่างกายนี้เรียกว่าความรู้ นั่นคือความเห็นของข้า

คำอธิบาย

ขณะที่สนทนาถึงประเด็นเรื่องร่างกายและผู้รู้ร่างกาย วิญญาณและอภิวิญญาณ เราจะพบสามประเด็นในการศึกษาคือองค์ภควานฺ สิ่งมีชีวิตและวัตถุ ในทุกๆสนามแห่งกิจกรรมหรือในทุกร่างกายจะมีดวงวิญญาณอยู่สองดวงคือ ปัจเจกวิญญาณและอภิวิญญาณ เพราะว่าอภิวิญญาณทรงเป็นภาคแบ่งแยกขององค์ภควานฺ กฺฤษฺณ องค์กฺฤษฺณทรงตรัสว่า “ข้าเป็นผู้รู้เช่นกัน แต่ไม่ใช่ปัจเจกผู้รู้แห่งร่างกาย ข้าคือผู้รอบรู้ ข้าประทับอยู่ในทุกๆร่างกายในรูปของ ปรมาตฺมา หรืออภิวิญญาณ”

ผู้ที่ศึกษาประเด็นของสนามแห่งกิจกรรมและผู้รู้สนามอย่างละเอียดถี่ถ้วนตาม ภควัท-คีตา นี้จะสามารถบรรลุถึงความรู้

องค์ภควานฺทรงตรัสว่า “ข้าคือผู้รู้ของสนามแห่งกิจกรรมในทุกๆปัจเจกร่างกาย” ปัจเจกวิญญาณอาจเป็นผู้รู้ร่างกายของตนเองแต่จะไม่มีความรู้ร่างกายของผู้อื่น องค์ภควานฺทรงประทับอยู่ในทุกๆร่างกายในฐานะอภิวิญญาณ พระองค์ทรงทราบทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับทุกๆร่างกาย และทรงทราบร่างกายที่แตกต่างกันทั้งหมดของเผ่าพันธุ์อันหลากหลายแห่งชีวิตทั้งหลาย ประชาชนอาจรู้ทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับผืนแผ่นดินของตนเท่านั้น แต่พระเจ้าแผ่นดินทรงทราบไม่เพียงแต่พระราชวังของพระองค์แต่ยังทรงทราบถึงแผ่นดินในราชอาณาจักรทุกแปลงที่ปัจเจกชนครอบครอง ในทำนองเดียวกันเราอาจเป็นเจ้าของปัจเจกร่างกายแต่องค์ภควานฺทรงเป็นเจ้าของร่างกายทั้งหมด พระเจ้าแผ่นดินทรงเป็นเจ้าขององค์แรกของราชอาณาจักรและประชาชนเป็นเจ้าของรองลงมา ในลักษณะเดียวกันองค์ภควานฺทรงเป็นเจ้าของสูงสุดของร่างกายทั้งหมด

ร่างกายประกอบไปด้วยประสาทสัมผัสต่างๆ องค์ภควานฺคือ หฺฤษีเกศ ซึ่งหมายความว่า “ผู้ควบคุมประสาทสัมผัส” พระองค์ทรงเป็นผู้ควบคุมประสาทสัมผัสองค์แรกเหมือนกับพระเจ้าแผ่นดินที่ทรงเป็นผู้ควบคุมองค์แรกแห่งกิจกรรมทั้งหลายในรัฐ ประชาชนเป็นผู้ควบคุมรองลงมาองค์ภควานฺตรัสว่า “ข้าคือผู้รู้เช่นกัน” หมายความว่าพระองค์ทรงเป็นผู้รู้สูงสุด ปัจเจกวิญญาณรู้เฉพาะร่างกายของตนเองเท่านั้น ในวรรณกรรมพระเวทได้กล่าวไว้ดังนี้

กฺเษตฺราณิ หิ ศรีราณิ
พีชํ จาปิ ศุภาศุเภ
ตานิ เวตฺติ ส โยคาตฺมา
ตตห์ เกฺษตฺร-ชฺญ อุจฺยเต
ร่างกายนี้เรียกว่า กฺเษตฺร องค์ภควานฺและเจ้าของร่างกายอยู่ภายในร่างกายนี้ พระองค์ทรงทราบทั้งร่างกายและเจ้าของร่างกาย ดังนั้นองค์ภควานฺทรงถูกเรียกว่าเป็นผู้รู้สนามทั้งหมด ข้อแตกต่างระหว่างสนามแห่งกิจกรรม ผู้รู้กิจกรรม และผู้รู้สูงสุดแห่งกิจกรรมได้อธิบายไว้ดังนี้ ความรู้ที่สมบูรณ์แห่งพื้นฐานของร่างกาย พื้นฐานของปัจเจกวิญญาณและพื้นฐานของอภิวิญญาณ วรรณกรรมพระเวทเรียกว่า ชฺญาน นั่นคือความเห็นขององค์กฺฤษฺณ การเข้าใจทั้งดวงวิญญาณและอภิวิญญาณว่าเป็นหนึ่งแต่ก็ไม่เหมือนกันเรียกว่าความรู้ ผู้ที่ไม่เข้าใจสนามแห่งกิจกรรมและผู้รู้กิจกรรมไม่มีความรู้ที่สมบูรณ์ เราต้องเข้าใจสถานภาพของ ปฺรกฺฤติ (ธรรมชาติ) ปุรุษ (ผู้รื่นเริงแห่งธรรมชาติ) และ อีศฺวร (ผู้รู้ที่ครอบครองหรือควบคุมธรรมชาติและปัจเจกวิญญาณ) เราไม่ควรสับสนกับศักยภาพที่แตกต่างกันของทั้งสามนี้ เราไม่ควรสับสนเกี่ยวกับจิตรกร ภาพวาด และขาตั้งภาพโลกวัตถุซึ่งเป็นสนามแห่งกิจกรรมนี้คือธรรมชาติ ผู้รื่นเริงกับธรรมชาติคือสิ่งมีชีวิตและเหนือไปกว่าทั้งสองคือผู้ควบคุมสูงสุดองค์ภควานฺ ได้กล่าวไว้ในภาษาพระเวท (เศฺวตาศฺวตร อุปนิษทฺ 1.12) ว่า โภกฺตา โภคฺยํ เปฺรริตารํ มตฺวา / สรฺวํ โปฺรกฺตํ ตฺริ-วิธํ พฺรหฺมมฺ เอตตฺ มีสามแนวคิดเกี่ยวกับ พฺรหฺมนฺ คือ ปฺรกฺฤติ เป็น พฺรหฺมนฺ ของสนามแห่งกิจกรรมและ ชีว (ปัจเจกวิญญาณ) เป็น พฺรหฺมนฺ เช่นกัน และเขาพยายามควบคุมธรรมชาติวัตถุและผู้ควบคุมทั้งสองก็เป็น พฺรหฺมนฺ แต่องค์ภควานฺคือผู้ควบคุมที่แท้จริง

ในบทนี้จะอธิบายว่าทั้งสองคือผู้รู้ ผู้หนึ่งมีข้อผิดพลาดและอีกผู้หนึ่งไร้ข้อผิดพลาด ผู้หนึ่งเหนือกว่าและอีกผู้หนึ่งด้อยกว่า ผู้เข้าใจผู้รู้แห่งสนามทั้งสองว่าเป็นหนึ่งเดียวกันและเหมือนกันเป็นผู้ที่ขัดแย้งกับบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า ซึ่งตรัสไว้อย่างชัดเจน ที่นี้ว่า “ข้าคือผู้รู้ของสนามแห่งกิจกรรมเช่นกัน” ผู้เข้าใจผิดว่าเชือกคืองูเป็นผู้ไม่มีความรู้ มีร่างกายแตกต่างกันและมีเจ้าของร่างกายที่แตกต่างกัน เนื่องจากแต่ละปัจเจกวิญญาณมีปัจเจกศักยภาพในการเป็นเจ้าเหนือธรรมชาติวัตถุจึงมีร่างกายที่แตกต่างกัน แต่องค์ภควานฺทรงประทับอยู่ภายในพวกเขาในฐานะผู้ควบคุม คำว่า มีความสำคัญและแสดงถึงจำนวนของร่างกายทั้งหมด นั่นคือความเห็นของ ศฺรีล วิทฺยาภูษณ วิทฺยาภูษณ องค์กฺฤษฺณทรงเป็นอภิวิญญาณปรากฏในทุกๆร่างกายซึ่งแตกต่างไปจากปัจเจกวิญญาณ พระองค์ตรัสอย่างชัดเจน ที่นี้ว่าอภิวิญญาณทรงเป็นผู้ควบคุมทั้งสนามแห่งกิจกรรมและผู้รื่นเริงที่มีขีดจำกัด