ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สิบสาม
ธรรมชาติ ผู้รื่นเริง และจิตสำนึก
โศลก 30
prakṛtyaiva ca karmāṇi
kriyamāṇāni sarvaśaḥ
yaḥ paśyati tathātmānam
akartāraṁ sa paśyati
kriyamāṇāni sarvaśaḥ
yaḥ paśyati tathātmānam
akartāraṁ sa paśyati
ปฺรกฺฤไตฺยว จ กรฺมาณิ
กฺริยมาณานิ สรฺวศห์
ยห์ ปศฺยติ ตถาตฺมานมฺ
อกรฺตารํ ส ปศฺยติ
กฺริยมาณานิ สรฺวศห์
ยห์ ปศฺยติ ตถาตฺมานมฺ
อกรฺตารํ ส ปศฺยติ
ปฺรกฺฤตฺยา — โดยธรรมชาติวัตถุ, เอว — แน่นอน, จ — เช่นกัน, กรฺมาณิ — กิจกรรม, กฺริยมาณานิ — ปฏิบัติ, สรฺวศห์ — ในทุกๆด้าน, ยห์ — ผู้ใดซึ่ง, ปศฺยติ — เห็น, ตถา — เช่นกัน, อาตฺมานมฺ — ตัวเขา, อกรฺตารมฺ — ไม่ใช่ผู้ทำ, สห์ — เขา, ปศฺยติ — เห็นโดยสมบูรณ์
คำแปล
ผู้สามารถเห็นว่ากิจกรรมทั้งหลายที่ร่างกายกระทำซึ่งธรรมชาติวัตถุเป็นผู้สร้าง
คำอธิบาย
ร่างกายนี้ถูกสร้างมาจากธรรมชาติวัตถุภายใต้การกำกับของอภิวิญญาณ และกิจกรรมใดๆที่ดำเนินไปเกี่ยวกับร่างกายไม่ใช่เป็นการกระทำของตัวเรา สิ่งที่ทำไม่ว่าจะเพื่อความสุขหรือความทุกข์เราถูกบังคับให้ทำเนื่องมาจากพื้นฐานของร่างกาย อย่างไรก็ดีตัวเราเองอยู่ภายนอกกิจกรรมทั้งหลายเหล่านี้ ร่างกายนี้ได้มาตามความปรารถนาของเราในอดีตเพื่อสนองกับความต้องการเราจึงได้ร่างกายซึ่งแสดงออกไปตามนั้น อันที่จริงร่างกายคือเครื่องจักรที่องค์ภควานฺทรงออกแบบให้เพื่อสนองความต้องการ เนื่องมาจากความต้องการเราจึงถูกจับให้มาอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบากเพื่อให้ได้รับความทุกข์หรือความสุข วิสัยทัศน์ทิพย์ของสิ่งมีชีวิตเมื่อพัฒนาขึ้นจะทำให้เราแยกออกมาจากกิจกรรมทางร่างกาย ผู้มีวิสัยทัศน์เช่นนี้เป็นผู้เห็นโดยแท้จริง