ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบสาม

ธรรมชาติ ผู้รื่นเริง และจิตสำนึก

โศลก 4

tat kṣetraṁ yac ca yādṛk ca
yad-vikāri yataś ca yat
sa ca yo yat-prabhāvaś ca
tat samāsena me śṛṇu
ตตฺ เกฺษตฺรํ ยจฺ จ ยาทฺฤกฺ จ
ยทฺ-วิการิ ยตศฺ จ ยตฺ
ส จ โย ยตฺ-ปฺรภาวศฺ จ
ตตฺ สมาเสน เม ศฺฤณุ
ตตฺ — นั้น, กฺเษตฺรมฺ — สนามแห่งกิจกรรม, ยตฺ — อะไร, — เช่นกัน, ยาทฺฤกฺ — เหมือนเดิม, — เช่นกัน, ยตฺ — มีอะไร, วิการิ — เปลี่ยนแปลง, ยตห์ — จากอะไร, — เช่นกัน, ยตฺ — อะไร, สห์ — เขา, — เช่นกัน, ยห์ — ผู้ซึ่ง, ยตฺ — มีอะไร, ปฺรภาวห์ — อิทธิพล, — เช่นกัน, ตตฺ — นั้น, สมาเสน — โดยสรุป, เม — จากข้า, ศฺฤณุ — เข้าใจ

คำแปล

บัดนี้จงฟังคำอธิบายโดยย่อจากข้าเกี่ยวกับสนามแห่งกิจกรรมนี้ว่าประกอบขึ้นอย่างไร เปลี่ยนแปลงอย่างไร ผลิตมาจากไหน ใครคือผู้รู้สนามแห่งกิจกรรมและอิทธิพลของมันเป็นอย่างไร

คำอธิบาย

องค์ภควานฺทรงอธิบายถึงสนามแห่งกิจกรรมและผู้รู้สนามแห่งกิจกรรมในสถานภาพเดิมแท้ เราต้องรู้ถึงวัตถุที่ผลิตร่างกายนี้ขึ้นมา รู้ว่าร่างกายนี้ประกอบขึ้นอย่างไร ใครคือผู้ควบคุมร่างกายนี้ให้ทำงาน การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้อย่างไร การเปลี่ยนแปลงมาจากไหน อะไรคือสาเหตุ อะไรคือเหตุผล อะไรคือจุดมุ่งหมายสูงสุดของปัจเจกวิญญาณ และรูปลักษณ์อันแท้จริงของปัจเจกวิญญาณคืออะไร เราควรรู้ข้อแตกต่างระหว่างปัจเจกวิญญาณและอภิวิญญาณ อิทธิพลและศักยภาพที่แตกต่างของทั้งสอง เราเพียงแต่ต้องเข้าใจ ภควัท-คีตา นี้โดยตรงจากดำรัสของบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าและทั้งหมดนี้จะชัดเจนขึ้น แต่เราต้องระวังที่จะไม่พิจารณาว่าองค์ภควานฺผู้ทรงประทับในทุกๆร่างเป็นหนึ่งเดียวกับ ชีว หรือปัจเจกวิญญาณ เช่นนี้เหมือนกับการเปรียบเทียบผู้มีอำนาจและผู้ไม่มีอำนาจว่าเท่าเทียมกัน