ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบสี่

สามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ

โศลก 10

rajas tamaś cābhibhūya
sattvaṁ bhavati bhārata
rajaḥ sattvaṁ tamaś caiva
tamaḥ sattvaṁ rajas tathā
รชสฺ ตมศฺ จาภิภูย
สตฺตฺวํ ภวติ ภารต
รชห์ สตฺตฺวํ ตมศฺ ไจว
ตมห์ สตฺตฺวํ รชสฺ ตถา
รชห์ — ระดับตัณหา, ตมห์ — ระดับอวิชชา, — เช่นกัน, อภิภูย — ข้ามพ้น, สตฺตฺวมฺ — ระดับความดี, ภวติ — โดดเด่น, ภารต — โอ้ โอรสแห่ง ภรต, รชห์ — ระดับตัณหา, สตฺตฺวมฺ — ระดับความดี, ตมห์ — ระดับอวิชชา, — เช่นกัน, เอว — เช่นนั้น, ตมห์ — ระดับอวิชชา, สตฺตฺวมฺ — ระดับความดี, รชห์ — ระดับตัณหา, ตถา — ดังนั้น

คำแปล

บางครั้งระดับความดีโดดเด่น ชนะระดับตัณหาและอวิชชา โอ้ โอรสแห่ง ภรต บางครั้งระดับตัณหาชนะความดีและอวิชชา และบางครั้งระดับอวิชชาชนะความดีและตัณหา เช่นนี้จะมีการแข่งขันเพื่อความยิ่งใหญ่อยู่เสมอ

คำอธิบาย

เมื่อระดับตัณหาโดดเด่น ระดับความดีและอวิชชาก็พ่ายแพ้ เมื่อระดับความดีโดดเด่น ตัณหาและอวิชชาก็พ่ายแพ้ และเมื่อระดับอวิชชาโดดเด่น ตัณหาและความดีก็พ่ายแพ้ การแข่งขันเช่นนี้จะดำเนินต่อไปตลอดเวลา ฉะนั้นผู้ที่ตั้งใจจะเจริญก้าวหน้าในกฺฤษฺณจิตสำนึกจริงๆต้องข้ามให้พ้นเหนือทั้งสามระดับนี้ ความโดดเด่นของระดับหนึ่งระดับใดแห่งธรรมชาติจะปรากฏในการมาสัมพันธ์กับกิจกรรมและในการรับประทานอาหารของบุคคลนั้น ทั้งหมดนี้จะอธิบายในบทต่อๆไป หากปรารถนาเราสามารถพัฒนาด้วยการปฏิบัติในระดับความดีและเอาชนะระดับอวิชชาและตัณหา ถึงแม้ว่ามีสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุนี้หากมีความมั่นใจเราอาจได้รับพรจากระดับความดี และเมื่อข้ามพ้นเหนือระดับความดีเราจะสถิตในความดีที่บริสุทธิ์ เรียกว่า ระดับ วสุเทว ซึ่งเป็นระดับที่เราสามารถเข้าใจศาสตร์แห่งองค์ภควานฺ จากกิจกรรมต่างๆที่ปรากฏทำให้เข้าใจได้ว่าบุคคลนี้สถิตในระดับใดของธรรมชาติ