ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบสี่

สามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ

โศลก 12

lobhaḥ pravṛttir ārambhaḥ
karmaṇām aśamaḥ spṛhā
rajasy etāni jāyante
vivṛddhe bharatarṣabha
โลภห์ ปฺรวฺฤตฺติรฺ อารมฺภห์
กรฺมณามฺ อศมห์ สฺปฺฤหา
รชสฺยฺ เอตานิ ชายนฺเต
วิวฺฤทฺเธ ภรตรฺษภ
โลภห์ — ความโลภ, ปฺรวฺฤตฺติห์ — กิจกรรม, อารมฺภห์ — ความพยายาม, กรฺมณามฺ — ในกิจกรรม, อศมห์ — ควบคุมไม่ได้, สฺปฺฤหา — ความต้องการ, รชสิ — ของระดับตัณหา, เอตานิ — ทั้งหมดนี้, ชายนฺเต — พัฒนา, วิวฺฤทฺเธ — เมื่อมีมากเกินไป, ภรต-ฤษภ — โอ้ ผู้นำแห่งผู้สืบราชวงศ์ ภารต

คำแปล

โอ้ ผู้นำแห่ง ภารต เมื่อระดับตัณหาเพิ่มพูน ลักษณะอาการที่จะพัฒนาขึ้นมากคือ ความยึดติด กิจกรรมเพื่อผลทางวัตถุ ความพยายามอย่างแรงกล้า ความปรารถนา และความทะเยอทะยานที่ควบคุมไม่ได้

คำอธิบาย

ผู้ที่อยู่ในระดับตัณหาไม่เคยมีความพึงพอใจกับสภาวะที่ตนเองได้รับ มักจะทะเยอทะยานเพื่อเลื่อนสถานภาพ หากต้องการสร้างบ้านพักเขาพยายามอย่างดีที่สุดที่จะให้เป็นราชวัง ประหนึ่งว่าตนเองจะสามารถพักอยู่ในบ้านนั้นชั่วกัลปวสาน และพัฒนาความทะเยอทะยานอย่างยิ่งใหญ่เพื่อสนองประสาทสัมผัส การสนองประสาทสัมผัสจะดำเนินไปอย่างไม่สิ้นสุด เขาปรารถนาที่จะอยู่กับบ้านและครอบครัวเสมอ และสนองประสาทสัมผัสไปเรื่อยๆโดยไม่มีวันสิ้นสุด อาการทั้งหมดเหล่านี้ควรเข้าใจว่าเป็นลักษณะของระดับตัณหา