ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบสี่

สามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ

โศลก 22-25

śrī-bhagavān uvāca
prakāśaṁ ca pravṛttiṁ ca
moham eva ca pāṇḍava
na dveṣṭi sampravṛttāni
na nivṛttāni kāṅkṣati
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ
ปฺรกาศํ จ ปฺรวฺฤตฺตึ จ
โมหมฺ เอว จ ปาณฺฑว
น เทฺวษฺฏิ สมฺปฺรวฺฤตฺตานิ
น นิวฺฤตฺตานิ กางฺกฺษติ
udāsīna-vad āsīno
guṇair yo na vicālyate
guṇā vartanta ity evaṁ
yo ’vatiṣṭhati neṅgate
อุทาสีน-วทฺ อาสีโน
คุไณรฺ โย น วิจาลฺยเต
คุณา วรฺตนฺต อิตฺยฺ เอวํ
โย ’วติษฺฐติ เนงฺคเต
sama-duḥkha-sukhaḥ sva-sthaḥ
sama-loṣṭāśma-kāñcanaḥ
tulya-priyāpriyo dhīras
tulya-nindātma-saṁstutiḥ
สม-ทุห์ข-สุขห์ สฺว-สฺถห์
สม-โลษฺฏาศฺม-กาญฺจนห์
ตุลฺย-ปฺริยาปฺริโย ธีรสฺ
ตุลฺย-นินฺทาตฺม-สํสฺตุติห์
mānāpamānayos tulyas
tulyo mitrāri-pakṣayoḥ
sarvārambha-parityāgī
guṇātītaḥ sa ucyate
มานาปมานโยสฺ ตุลฺยสฺ
ตุโลฺย มิตฺราริ-ปกฺษโยห์
สรฺวารมฺภ-ปริตฺยาคี
คุณาตีตห์ ส อุจฺยเต
ศฺรี-ภควานฺ อุวาจ — บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าตรัส, ปฺรกาศมฺ — สว่างไสว, — และ, ปฺรวฺฤตฺติมฺ — ยึดติด, — และ, โมหมฺ — ความหลง, เอว จ — เช่นกัน, ปาณฺฑว — โอ้ โอรส ปาณฺฑุ, น เทฺวษฺฏิ — ไม่เกลียด, สมฺปฺรวฺฤตฺตานิ — ถึงแม้พัฒนา, น นิวฺฤตฺตานิ — ไม่หยุดพัฒนา, กางฺกฺษติ — ปรารถนา, อุทาสีน-วตฺ — ประหนึ่งเป็นกลาง, อาสีนห์ — สถิต, คุไณห์ — ด้วยคุณสมบัติ, ยห์ — ผู้ซึ่ง, — ไม่เคย, วิจาลฺยเต — เร่าร้อน, คุณาห์ — คุณสมบัติ, วรฺตนฺเต — ปฏิบัติ, อิติ เอวมฺ — รู้ดังนี้, ยห์ — ผู้ซึ่ง, อวติษฺฐติ — ยังคง, — ไม่เคย, อิงฺคเต — นิดเดียว, สม — เสมอภาค, ทุห์ข — ในความทุกข์, สุขห์ — ในความสุข, สฺว-สฺถห์ — กระตุ้นอยู่ในตัวเขา, สม — เสมอภาค, โลษฺฏ — ก้อนดิน, อศฺม — หิน, กาญฺจนห์ — ทอง, ตุลฺย — ปฏิบัติเสมอภาค, ปฺริย — ต่อสิ่งที่รัก, อปฺริยห์ — และสิ่งที่ไม่ต้องการ, ธีรห์ — มั่นคง, ตุลฺย — เท่าเทียม, นินฺทา — ในการดูหมิ่น, อาตฺม-สํสฺตุติห์ — และสรรเสริญตัวเขา, มาน — ในเกียรติยศ, อปมานโยห์ — และเสียเกียรติ, ตุลฺยห์ — เท่าเทียม, ตุลฺยห์ — เท่าเทียม, มิตฺร — เพื่อน, อริ — และศัตรู, ปกฺษโยห์ — ต่อพรรค, สรฺว — ทั้งหมด, อารมฺภ — ความพยายาม, ปริตฺยาคี — ผู้เสียสละ, คุณ-อตีตห์ — ข้ามพ้นระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ, สห์ — เขา, อุจฺยเต — กล่าวว่าเป็น

คำแปล

บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าตรัสว่า โอ้ โอรสแห่ง ปาณฺฑุ ผู้ที่ไม่เกลียดแสงสว่าง ความยึดติด และความหลง เมื่อสิ่งเหล่านี้ปรากฏ หรือไม่ปรารถนาเมื่อสิ่งเหล่านี้ไม่ปรากฏ ผู้ที่ไม่เอนเอียง และไม่หวั่นไหวกับผลกระทบซึ่งกันและกันของคุณลักษณะต่างๆทางวัตถุทั้งหลาย คงความเป็นกลางและเป็นทิพย์ รู้ว่าระดับต่างๆเท่านั้นที่ทำงาน ผู้ที่สถิตในตนเอง และปฏิบัติต่อความสุขและความทุกข์เหมือนกัน ผู้ที่มองเห็นก้อนดิน ก้อนหิน และทองคำด้วยสายตาที่เท่าเทียมกัน ผู้ที่เสมอภาคต่อสิ่งที่ปรารถนาและสิ่งที่ไม่ปรารถนา ผู้ที่มีความมั่นคง สถิตเสมอภาคเป็นอย่างดีทั้งในคำสรรเสริญและคำเหยียดหยาม การได้เกียรติและการเสียเกียรติ ผู้ที่ปฏิบัติต่อเพื่อนและศัตรูเหมือนกัน และเป็นผู้ที่สละกิจกรรมทางวัตถุทั้งหมด บุคคลเช่นนี้กล่าวว่าได้ข้ามพ้นเหนือระดับต่างๆแห่งธรรมชาติแล้ว

คำอธิบาย

อรฺชุน ทรงถามสามคำถาม องค์ภควานฺทรงตอบทีละข้อ ในโศลกเหล่านี้ก่อนอื่นองค์กฺฤษฺณทรงแสดงให้เห็นว่าบุคคลสถิตในระดับทิพย์จะไม่มีความอิจฉาริษยาและไม่ทะเยอทะยานกับสิ่งใดๆ เมื่อสิ่งมีชีวิตมาอยู่ในโลกวัตถุนี้และถูกร่างวัตถุปกคลุมเข้าใจว่าเขาต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของหนึ่งในสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ จนกว่าจะออกจากร่างกายจริงๆเขาจึงจะออกจากเงื้อมมือของระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ ตราบใดที่ยังไม่ออกไปจากร่างวัตถุเขาควรทำตัวเป็นกลาง และควรปฏิบัติในการอุทิศตนเสียสละรับใช้องค์ภควานฺเพื่อจะได้ลืมการสำคัญตนเองกับร่างกายวัตถุไปโดยปริยาย เมื่อมีจิตสำนึกอยู่กับร่างกายวัตถุเขาจะทำสิ่งต่างๆเพื่อสนองประสาทสัมผัสเท่านั้น แต่เมื่อย้ายจิตสำนึกไปที่องค์กฺฤษฺณการสนองประสาทสัมผัสจะหยุดลงโดยปริยาย ร่างกายวัตถุนี้ไม่มีความจำเป็นและตัวเขาก็ไม่จำเป็นต้องยอมรับคำบงการจากร่างวัตถุ คุณสมบัติต่างๆของระดับวัตถุในร่างกายจะทำงาน แต่ดวงวิญญาณหรือตัวเขาเองอยู่ออกห่างเหนือไปจากกิจกรรมต่างๆเหล่านี้ เขาอยู่เหนือและห่างออกไปได้อย่างไร เขาไม่ปรารถนาหาความสุขกับร่างกายและไม่ปรารถนาที่จะออกไปจากร่างกาย ดังนั้นจึงสถิตในวิถีทิพย์สาวกเป็นอิสระโดยปริยาย จึงไม่จำเป็นต้องพยายามมาเป็นอิสระจากอิทธิพลของระดับต่างๆแห่งธรรมชาติวัตถุ

คำถามต่อไปเกี่ยวกับบุคคลผู้สถิตในวิถีทิพย์ บุคคลสถิตทางวัตถุได้รับผลกระทบจากสิ่งที่สมมติว่าเป็นการได้รับเกียรติและเสียเกียรติที่เสนอให้กับร่างกาย แต่บุคคลผู้สถิตในวิถีทิพย์ไม่ได้รับผลกระทบจากการได้เกียรติและการเสียเกียรติอย่างผิดๆ เขาปฏิบัติหน้าที่ในกฺฤษฺณจิตสำนึกและไม่สนใจว่าใครจะให้เกียรติหรือจะทำให้เขาเสียเกียรติ เขายอมรับสิ่งต่างๆที่เอื้ออำนวยต่อหน้าที่การงานของตนในกฺฤษฺณจิตสำนึก มิฉะนั้นจะไม่มีความจำเป็นกับสิ่งใดๆที่เป็นวัตถุไม่ว่าจะเป็นก้อนหินหรือทองคำ ถือเสียว่าทุกๆคนที่ช่วยเขาในการปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึกเป็นเพื่อนรักและไม่เกลียดคนที่สมมติว่าเป็นศัตรู เขาปฏิบัติเสมอภาคกับทุกคนและมองดูทุกสิ่งทุกอย่างในระดับเดียวกัน เพราะทราบดีว่าตัวเขาไม่มีอะไรยุ่งเกี่ยวกับความเป็นอยู่ทางวัตถุ ประเด็นทางสังคมและทางการเมืองจะไม่มีผลกระทบต่อเขา เพราะเขารู้ถึงสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงและความยุ่งยากต่างๆที่ไม่ถาวร และไม่พยายามทำสิ่งใดๆเพื่อประโยชน์ส่วนตัว แต่จะพยายามทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อองค์กฺฤษฺณ สำหรับส่วนตัวจะไม่พยายามเพื่อสิ่งใด จากพฤติกรรมเช่นนี้เขาสถิตในวิถีทิพย์โดยแท้จริง