ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบสี่

สามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ

โศลก 5

sattvaṁ rajas tama iti
guṇāḥ prakṛti-sambhavāḥ
nibadhnanti mahā-bāho
dehe dehinam avyayam
สตฺตฺวํ รชสฺ ตม อิติ
คุณาห์ ปฺรกฺฤติ-สมฺภวาห์
นิพธฺนนฺติ มหา-พาโห
เทเห เทหินมฺ อวฺยยมฺ
สตฺตฺวมฺ — ระดับความดี, รชห์ — ระดับตัณหา, ตมห์ — ระดับอวิชชา, อิติ — ดังนั้น, คุณาห์ — คุณลักษณะ, ปฺรกฺฤติ — ธรรมชาติวัตถุ, สมฺภวาห์ — ผลิตจาก, นิพธฺนนฺติ — อยู่ภายใต้พันธสภาวะ, มหา-พาโห — นักรบผู้ยอดเยี่ยม, เทเห — ในร่างนี้, เทหินมฺ — สิ่งมี ชีวิต, อวฺยยมฺ — อมตะ

คำแปล

ธรรมชาติวัตถุประกอบด้วยสามระดับ คือ ความดี ตัณหา และอวิชชา เมื่อสิ่งมีชีวิตอมตะมาสัมผัสกับธรรมชาติ โอ้ อรฺชุน นักรบผู้ยอดเยี่ยม เขามาอยู่ภายใต้สภาวะของสามระดับนี้

คำอธิบาย

เนื่องจากสิ่งมีชีวิตเป็นทิพย์จึงไม่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติวัตถุนี้ แต่เพราะว่ามาอยู่ภายใต้สภาวะของโลกวัตถุสิ่งมีชีวิตจึงปฏิบัติตนภายใต้มนต์สะกดของสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ เพราะมีร่างกายที่ต่างกันตามทิศทางของธรรมชาติที่ต่างกันจึงถูกกระตุ้นให้ปฏิบัติไปตามธรรมชาตินั้นๆ นี่คือสาเหตุแห่งความสุขและความทุกข์ที่หลากหลาย