ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบห้า

โยคะแห่งองค์ภควานฺ

โศลก 10

utkrāmantaṁ sthitaṁ vāpi
bhuñjānaṁ vā guṇānvitam
vimūḍhā nānupaśyanti
paśyanti jñāna-cakṣuṣaḥ
อุตฺกฺรามนฺตํ สฺถิตํ วาปิ
ภุญฺชานํ วา คุณานฺวิตมฺ
วิมูฒา นานุปศฺยนฺติ
ปศฺยนฺติ ชฺญาน-จกฺษุษห์
อุตฺกฺรามนฺตมฺ — ออกจากร่างกาย, สฺถิตมฺ — สถิตในร่างกาย, วา อปิ — ทั้งสอง, ภุญฺชานมฺ — รื่นเริง, วา — หรือ, คุณ-อนฺวิตมฺ — ภายใต้มนต์สะกดของสามระดับแห่งธรรมชาติวัตถุ, วิมูฒาห์ — คนโง่, — ไม่เคย, อนุปศฺยนฺติ — สามารถเห็น, ปศฺยนฺติ — สามารถเห็น, ชฺญาน-จกฺษุษห์ — พวกที่มีจักษุแห่งความรู้

คำแปล

คนโง่เขลาไม่สามารถเข้าใจว่าสิ่งมีชีวิตจะออกจากร่างกายของตนเองได้อย่างไร และก็ไม่สามารถเข้าใจว่าร่างกายชนิดไหนที่เขาจะรื่นเริงภายใต้มนต์สะกดของระดับแห่งธรรมชาติ แต่ผู้มีสายตาที่ได้รับการฝึกฝนในความรู้จะสามารถเห็นทั้งหมดนี้

คำอธิบาย

คำว่า ชฺญาน-จกฺษุษห์ สำคัญมาก หากปราศจากความรู้ก็จะไม่สามารถเข้าใจว่าสิ่งมีชีวิตออกจากร่างปัจจุบันได้อย่างไร ร่างกายชนิดไหนที่เขาจะได้รับในชาติหน้า และทำไมจึงมาอยู่ในร่างนี้โดยเฉพาะ สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องมีความรู้มากพอสมควรที่เข้าใจมาจาก ภควัท-คีตา และวรรณกรรมคล้ายกันนี้ รวมทั้งสดับฟังมาจากพระอาจารย์ทิพย์ผู้ที่เชื่อถือ ผู้ใดที่ได้รับการฝึกฝนให้สำเหนียกสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เป็นผู้โชคดี ทุกๆชีวิตออกจากร่างของตนภายใต้สถานการณ์เฉพาะซึ่งอยู่ภายใต้มนต์สะกดของธรรมชาติวัตถุ ผลก็คือเราได้รับความทรมานต่างๆจากความสุขและความทุกข์ ภายใต้ความหลงแห่งการรื่นรมณ์ในประสาทสัมผัสคนที่โง่อยู่กับราคะและความต้องการอยู่ตลอดเวลา เขาได้สูญเสียพลังอำนาจในการเข้าใจทั้งหมดเกี่ยวกับเรื่องการเปลี่ยนร่างและการที่ตนเองมาอยู่ในร่างเฉพาะนี้ บุคคลเหล่านี้ไม่สามารถทำความเข้าใจได้ อย่างไรก็ดีพวกที่ได้พัฒนาความรู้ทิพย์จะสามารถเห็นว่าดวงวิญญาณนั้นแตกต่างจากร่างกาย ดวงวิญญาณเปลี่ยนร่าง และรื่นเริงในวิถีทางต่างๆ ผู้ที่มีความรู้เช่นนี้สามารถเข้าใจว่าชีวิตที่ถูกพันธนาการนั้นได้รับความทุกข์ทรมานในความเป็นอยู่ทางวัตถุนี้ได้อย่างไร ดังนั้นบุคคลผู้ที่พัฒนาในกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างจริงจังจะพยายามอย่างดีที่สุดเพื่อแจกจ่ายความรู้นี้แก่ผู้คนโดยทั่วไป เนื่องจากพันธชีวิตมีปัญหามากเราจึงควรออกไปจากมันและมีกฺฤษฺณจิตสำนึก ซึ่งจะทำให้ตนเองได้รับอิสรภาพและย้ายไปอยู่โลกทิพย์