ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบห้า

โยคะแห่งองค์ภควานฺ

โศลก 11

yatanto yoginaś cainaṁ
paśyanty ātmany avasthitam
yatanto ’py akṛtātmāno
nainaṁ paśyanty acetasaḥ
ยตนฺโต โยคินศฺ ไจนํ
ปศฺยนฺตฺยฺ อาตฺมนฺยฺ อวสฺถิตมฺ
ยตนฺโต ’ปฺยฺ อกฺฤตาตฺมาโน
ไนนํ ปศฺยนฺตฺยฺ อเจตสห์
ยตนฺตห์ — ความพยายาม, โยคินห์ — นักทิพย์นิยม, — เช่นกัน, เอนมฺ — นี้, ปศฺยนฺติ — สามารถเห็น, อาตฺมนิ — ในตัว, อวสฺถิตมฺ — สถิต, ยตนฺตห์ — พยายาม, อปิ — ถึงแม้, อกฺฤต-อาตฺมานห์ — พวกที่ไม่มีความรู้แจ้งแห่งตน, — ไม่, เอนมฺ — นี้, ปศฺยนฺติ — เห็น, อเจตสห์ — มีจิตใจที่ไม่พัฒนา

คำแปล

นักทิพย์นิยมผู้มีความพยายามสถิตในความรู้แจ้งแห่งตน สามารถเห็นทั้งหมดนี้อย่างชัดเจน แต่พวกที่จิตใจไม่พัฒนา และไม่สถิตในความรู้แจ้งแห่งตน ไม่สามารถเห็นว่าอะไรเกิดขึ้นแม้อาจพยายาม

คำอธิบาย

มีนักทิพย์นิยมมากมายบนหนทางแห่งความรู้แจ้งแห่งตน แต่ผู้ที่ไม่สถิตในความรู้แจ้งแห่งตนจะไม่สามารถเห็นว่าสิ่งต่างๆในร่างกายของสิ่งมีชีวิตนั้นเปลี่ยนแปลงไปได้อย่างไร คำว่า โยคินห์ มีความสำคัญในประเด็นนี้ ปัจจุบันมีพวกที่สมมติว่าเป็นโยคีมากมายและมีสถานที่ที่สมมติว่าเป็นสมาคมของพวกโยคีมากมาย เช่นกันแต่อันที่จริงเป็นที่มืดมนเกี่ยวกับเรื่องความรู้แจ้งแห่งตน พวกเขาเพียงแต่มัวเมาอยู่กับท่าบริหารยิมนาสติกต่างๆ และมีความพึงพอใจหากร่างกายสวยงามและสุขภาพดีโดยไม่มีข้อมูลอื่น พวกนี้เรียกว่า ยตนฺโต ’ปฺยฺ อกฺฤตาตฺมานห์ ถึงแม้ว่าพยายามในสิ่งที่สมมติว่าเป็นระบบโยคะแต่จะไม่รู้แจ้งตนเอง และไม่สามารถเข้าใจวิธีการเปลี่ยนร่างของดวงวิญญาณ พวกที่อยู่ในระบบโยคะที่แท้จริงเท่านั้นจึงรู้แจ้งตนเอง รู้แจ้งโลกและรู้แจ้งองค์ภควานฺ อีกนัยหนึ่งพวก ภกฺติ-โยคี ปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ในกฺฤษฺณจิตสำนึกอย่างบริสุทธิ์จึงจะเข้าใจว่าสิ่งต่างๆเกิดขึ้นได้อย่างไร