ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบห้า

โยคะแห่งองค์ภควานฺ

โศลก 5

nirmāna-mohā jita-saṅga-doṣā
adhyātma-nityā vinivṛtta-kāmāḥ
dvandvair vimuktāḥ sukha-duḥkha-saṁjñair
gacchanty amūḍhāḥ padam avyayaṁ tat
นิรฺมาน-โมหา ชิต-สงฺค-โทษา
อธฺยาตฺม-นิตฺยา วินิวฺฤตฺต-กามาห์
ทฺวนฺไทฺวรฺ วิมุกฺตาห์ สุข-ทุห์ข-สํชฺไญรฺ
คจฺฉนฺตฺยฺ อมูฒาห์ ปทมฺ อวฺยยํ ตตฺ
นิห์ — ปราศจาก, มาน — เกียรติยศที่ผิด, โมหาห์ — และความหลง, ชิต — เอาชนะ, สงฺค — การคบหาสมาคม, โทษาห์ — ความผิด, อธฺยาตฺม — ในความรู้ทิพย์, นิตฺยาห์ — ในความเป็นอมตะ, วินิวฺฤตฺต — ไม่คบหาสมาคม, กามาห์ — จากราคะ, ทฺวนฺไทฺวห์ — จากสิ่งคู่, วิมุกฺตาห์ — หลุดพ้น, สุข-ทุห์ข — ความสุขและความทุกข์, สํชฺไญห์ — ชื่อ, คจฺฉนฺติ — บรรลุ, อมูฒาห์ — ไม่สับสน, ปทมฺ — สถานการณ์, อวฺยยมฺ — อมตะ, ตตฺ — นั้น

คำแปล

พวกที่เป็นอิสระจากเกียรติยศที่ผิด ความหลง และการคบหาสมาคมที่ผิด ผู้ที่เข้าใจความเป็นอมตะ จบสิ้นกับราคะทางวัตถุ ผู้เป็นอิสระจากสิ่งคู่แห่งความสุขและความทุกข์ ไม่สับสน รู้ว่าจะศิโรราบต่อองค์ภควานอย่างไร จะบรรลุถึงอาณาจักรอมตะนั้น

คำอธิบาย

วิธีการศิโรราบได้อธิบายไว้อย่างสวยงาม ที่นี้ว่า เราไม่ควรหลงอยู่กับความหยิ่งยะโส เนื่องจากพันธวิญญาณผยองคิดว่าตัวเองเป็นเจ้าแห่งธรรมชาติวัตถุจึงเป็นการยากมากที่จะศิโรราบต่อบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า จากการพัฒนาความรู้ที่แท้จริงเราควรรู้ว่าตัวเราไม่ใช่เจ้าแห่งธรรมชาติวัตถุ องค์ภควานฺทรงเป็นเจ้าของ เมื่อเป็นอิสระจากความหลงอันเนื่องมาจากความหยิ่งยะโสเราจะสามารถเริ่มวิธีการศิโรราบ สำหรับผู้ที่คาดหวังเกียรติยศบางอย่างในโลกวัตถุนี้เสมอจะเป็นไปไม่ได้ที่จะศิโรราบต่อองค์ภควานฺ ความหยิ่งยะโสก็เนื่องมาจากความหลง ถึงแม้ว่าเรามาที่นี่อยู่เพียงระยะเวลาสั้นแล้วต้องจากไปเราก็ยังมีความเห็นอย่างโง่ๆว่า เราคือเจ้าแห่งโลกนี้ ดังนั้นจึงทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นที่สับสนและมีปัญหาเสมอ โลกทั้งโลกหมุนไปภายใต้ความรู้สึกเช่นนี้ ผู้คนพิจารณาว่าแผ่นดินและโลกนี้เป็นของสังคมมนุษย์ และได้แบ่งที่ดินภายใต้ความรู้สึกผิดๆว่าพวกตนเป็นเจ้าของ เราต้องออกจากความเห็นที่ผิดนี้ว่าสังคมมนุษย์เป็นเจ้าของโลกใบนี้ เมื่อเป็นอิสระจากความเห็นผิดเช่นนี้เขาจึงจะเป็นอิสระจากการคบหาสมาคมจอมปลอมทั้งหลายที่เกิดมาจากความรักใคร่กับครอบครัว สังคม และประเทศชาติ การคบหาสมาคมที่ผิดเหล่านี้ผูกมัดเราให้อยู่ในโลกวัตถุ หลังจากระดับนี้เราต้องพัฒนาความรู้ทิพย์ ซึ่งต้องพัฒนาความรู้ว่าอะไรเป็นของตนที่แท้จริงและอะไรไม่ใช่ของตนที่แท้จริง และเมื่อเข้าใจสิ่งต่างๆตามความเป็นจริงก็จะเป็นอิสระจากแนวคิดที่เป็นสิ่งคู่ทั้งหลาย เช่น ความสุขและความทุกข์ ความรื่นเริงและความเจ็บปวด เราจะเปี่ยมไปด้วยความรู้ จากนั้นจึงจะเป็นไปได้ที่จะศิโรราบต่อบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า