ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สิบห้า
โยคะแห่งองค์ภควานฺ
โศลก 6
na tad bhāsayate sūryo
na śaśāṅko na pāvakaḥ
yad gatvā na nivartante
tad dhāma paramaṁ mama
na śaśāṅko na pāvakaḥ
yad gatvā na nivartante
tad dhāma paramaṁ mama
น ตทฺ ภาสยเต สูโรฺย
น ศศางฺโก น ปาวกห์
ยทฺ คตฺวา น นิวรฺตนฺเต
ตทฺ ธาม ปรมํ มม
น ศศางฺโก น ปาวกห์
ยทฺ คตฺวา น นิวรฺตนฺเต
ตทฺ ธาม ปรมํ มม
น — ไม่, ตตฺ — นั้น, ภาสยเต — ส่องแสง, สูรฺยห์ — ดวงอาทิตย์, น — ไม่, ศศางฺกห์ — ดวงจันทร์, น — ไม่, ปาวกห์ — ไฟ, ไฟฟ้า, ยตฺ — ที่ไหน, คตฺวา — ไป, น — ไม่, นิวรฺตนฺเต — พวกเขากลับมา, ตตฺ ธาม — สถานที่นั้น, ปรมมฺ — สูงสุด, มม — ของข้า
คำแปล
พระตำหนักสูงสุดของข้านั้นมิใช่สว่างไสวด้วยดวงอาทิตย์
คำอธิบาย
โลกทิพย์หรือพระตำหนักขององค์กฺฤษฺณบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้ามีชื่อว่า กฺฤษฺณโลก โคโลก วฺฤนฺทาวน ได้อธิบายไว้ ณ ที่นี้ว่า ในท้องฟ้าทิพย์ไม่จำเป็นต้องมีแสงอาทิตย์ แสงจันทร์ แสงไฟ หรือไฟฟ้า เพราะว่าดาวเคราะห์ทั้งหมดมีแสงสว่างอยู่ในตัว ในจักรวาลนี้มีดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวที่มีแสงอยู่ในตัวคือ ดวงอาทิตย์ แต่ดาวเคราะห์ในท้องฟ้าทิพย์ทั้งหมดมีแสงสว่างอยู่ในตัว รัศมีที่ส่องออกมาจากดาวเคราะห์ทั้งหมด (ไวกุณฺฐ) ประกอบกันเป็นท้องฟ้าที่เจิดจรัสเรียกว่า พฺรหฺม-โชฺยติรฺ อันที่จริงรัศมีได้สาดส่องออกมาจากดาวเคราะห์ขององค์กฺฤษฺณคือ โคโลก วฺฤนฺทาวน ส่วนหนึ่งของรัศมีที่สาดส่องออกมานั้นถูก มหตฺ-ตตฺตฺว หรือโลกวัตถุปกคลุม นอกนั้นส่วนใหญ่ของท้องฟ้าที่สาดแสงจะเต็มไปด้วยดาวเคราะห์ทิพย์เรียกว่า ไวกุณฺฐ ดวงที่สำคัญที่สุดคือ โคโลก วฺฤนฺทาวน
ตราบใดที่สิ่งมีชีวิตยังอยู่ในโลกวัตถุอันมืดมนนี้ เขาต้องติดอยู่ในชีวิตที่ถูกพันธนาการ แต่ทันทีที่ไปถึงท้องฟ้าทิพย์ด้วยการตัดต้นไม้ไม่จริงที่กลับตาลปัตรแห่งโลกวัตถุนี้ เขาจะเป็นอิสระและไม่มีโอกาสกลับมาที่นี่อีก ในชีวิตที่ถูกพันธนาการสิ่งมีชิวิตพิจารณาว่าตนเองเป็นเจ้าของแห่งโลกวัตถุนี้ แต่ในระดับหลุดพ้นเขาเข้าไปในอาณาจักรทิพย์และอยู่ใกล้ชิดกับองค์ภควานฺ ณ ที่นั้นเขารื่นเริงอยู่กับความปลื้มปีติสุขนิรันดร มีชีวิตเป็นอมตะ และเปี่ยมไปด้วยความรู้
เราควรยินดีกับข้อมูลนี้และควรปรารถนาที่จะย้ายตนเองไปยังโลกอมตะนั้น เราควรแก้ไขตนเองให้หลุดพ้นจากภาพสะท้อนที่ผิดไปจากความจริงนี้ สำหรับผู้ที่ยึดติดมากอยู่กับโลกวัตถุการตัดจากความยึดติดนั้นเป็นสิ่งที่ยากมาก ถ้าหากว่าเราปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึกก็จะค่อยๆทำให้เรายึดติดน้อยลง เราต้องคบหาสมาคมกับสาวกผู้อยู่ในกฺฤษฺณจิตสำนึก และควรแสวงหาสมาคมที่อุทิศตนให้แก่กฺฤษฺณจิตสำนึก และเรียนรู้การปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้ เช่นนี้จะทำให้สามารถตัดความยึดติดกับโลกวัตถุนี้ได้ หากครองผ้าเหลืองเพียงอย่างเดียวจะไม่สามารถทำให้เราตัดความยึดติดกับความหลงใหลในโลกวัตถุได้ เราต้องยึดมั่นกับการอุทิศตนเสียสละรับใช้ต่อองค์ภควานฺ และควรปฏิบัติการอุทิศตนเสียสละรับใช้อย่างจริงจัง ดังที่ได้อธิบายไว้ในบทที่สิบสอง ซึ่งเป็นวิถีทางเดียวเท่านั้นที่จะทำให้เราออกไปจากตัวแทนจอมปลอมของต้นไม้จริงนี้ ในบทที่สิบสี่ได้อธิบายถึงวิธีการทั้งหลายของธรรมชาติวัตถุที่ทำให้มีมลทิน ได้กล่าวไว้ว่าการอุทิศตนเสียสละรับใช้เท่านั้นที่เป็นทิพย์อย่างบริสุทธิ์
คำว่า ปรมํ มม มีความสำคัญมากตรงนี้ อันที่จริงทุกซอกทุกมุมเป็นสมบัติขององค์ภควานฺ แต่โลกทิพย์เป็น ปรมมฺ ซึ่งเต็มไปด้วยความมั่งคั่งหกประการ กฐ อุปนิษทฺ (2.2.15) ยืนยันไว้เช่นกันว่าในโลกทิพย์ไม่จำเป็นต้องมีแสงอาทิตย์ แสงจันทร์ หรือหมู่ดวงดาว (น ตตฺร สูโรฺย ภาติ น จนฺทฺร-ตารกมฺ ) เนื่องจากพลังงานเบื้องสูงขององค์ภควานฺส่องแสงสว่างไสวไปทั่วท้องฟ้าทิพย์ทั้งหมด พระตำหนักสูงสุดจะบรรลุได้ด้วยการศิโรราบเท่านั้น ใช่ไม่ด้วยวิธีอื่นใดทั้งสิ้น