ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบห้า

โยคะแห่งองค์ภควานฺ

โศลก 9

śrotraṁ cakṣuḥ sparśanaṁ ca
rasanaṁ ghrāṇam eva ca
adhiṣṭhāya manaś cāyaṁ
viṣayān upasevate
โศฺรตฺรํ จกฺษุห์ สฺปรฺศนํ จ
รสนํ ฆฺราณมฺ เอว จ
อธิษฺฐาย มนศฺ จายํ
วิษยานฺ อุปเสวเต
โศฺรตฺรมฺ — หู, จกฺษุห์ — ตา, สฺปรฺศนมฺ — สัมผัส, — เช่นกัน, รสนมฺ — ลิ้น, ฆฺราณมฺ — อำนาจในการดมกลิ่น, เอว — เช่นกัน, — และ, อธิษฺฐาย — สถิตใน, มนห์ — จิตใจ, — เช่นกัน, อยมฺ — เขา, วิษยานฺ — อายตะนภายนอก, อุปเสวเต — รื่นเริง

คำแปล

ดังนั้นสิ่งมีชีวิตได้ร่างหยาบอีกร่างหนึ่ง มีชนิดของหู ตา ลิ้น จมูก และความรู้สึกในการสัมผัสโดยเฉพาะซึ่งรวมกันอยู่รอบๆจิตใจ จากนั้นเขาก็รื่นเริงกับอายตนะภายนอกอีกชุดหนึ่งโดยเฉพาะ

คำอธิบาย

กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ หากสิ่งมีชีวิตเจือปนจิตสำนึกของตนเองกับคุณสมบัติของแมวและสุนัข ในชาติหน้าจะได้รับร่างแมวหรือร่างสุนัขและรื่นเริงกับมัน เดิมทีจิตสำนึกบริสุทธิ์เหมือนน้ำแต่ถ้าเราผสมน้ำกับสีมันจะเปลี่ยนสี เช่นเดียวกับจิตสำนึกบริสุทธิ์เพราะว่าดวงวิญญาณนั้นบริสุทธิ์ แต่จิตสำนึกเปลี่ยนไปตามที่เรามาใกล้ชิดกับคุณลักษณะทางวัตถุ จิตสำนึกที่แท้จริงคือกฺฤษฺณจิตสำนึก ดังนั้นเมื่อสถิตในกฺฤษฺณจิตสำนึกเราจะอยู่ในชีวิตที่บริสุทธิ์แห่งตนเอง แต่หากว่าจิตสำนึกเจือปนกับแนวคิดทางวัตถุบางอย่างในชาติหน้าเขาจะได้รับร่างกายตามนั้น ไม่จำเป็นว่าจะต้องได้รับร่างมนุษย์อีกครั้งหนึ่ง เขาอาจได้รับร่างแมว สุนัข สุกร เทวดา หรือหนึ่งในหลายๆร่างเพราะมีถึง 8,4000,000 เผ่าพันธุ์