ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบหก

ธรรมชาติทิพย์และธรรมชาติมาร

โศลก 11-12

cintām aparimeyāṁ ca
pralayāntām upāśritāḥ
kāmopabhoga-paramā
etāvad iti niścitāḥ
จินฺตามฺ อปริเมยำ จ
ปฺรลยานฺตามฺ อุปาศฺริตาห์
กาโมปโภค-ปรมา
เอตาวทฺ อิติ นิศฺจิตาห์
āśā-pāśa-śatair baddhāḥ
kāma-krodha-parāyaṇāḥ
īhante kāma-bhogārtham
anyāyenārtha-sañcayān
อาศา-ปาศ-ศไตรฺ พทฺธาห์
กาม-โกฺรธ-ปรายณาห์
อีหนฺเต กาม-โภคารฺถมฺ
อนฺยาเยนารฺถ-สญฺจยานฺ
จินฺตามฺ — ความกลัวและความวิตกกังวล, อปริเมยามฺ — วัดไม่ได้, — และ, ปฺรลย-อนฺตามฺ อันทาม — ถึงจุดแห่งความตาย, อุปาศฺริตาห์ — เป็นที่พึ่ง, กาม-อุปโภค — การสนองประสาทสัมผัส, ปรมาห์ — เป้าหมายสูงสุดแห่งชีวิต, เอตาวตฺ — ดังนั้น, อิติ — เช่นนี้, นิศฺจิตาห์ — มีความแน่ใจ, อาศา-ปาศ — ปฏิบัติในเครือข่ายแห่งความหวัง, ศไตห์ — เป็นร้อยๆ, พทฺธาห์ — ถูกพันธนาการ, กาม — ราคะ, โกฺรธ — และความโกรธ, ปรายณาห์ — สถิตในความคิดนั้นเสมอ, อีหนฺเต — พวกเขาปรารถนา, กาม — ราคะ, โภค — สนองประสาทสัมผัส, อรฺถมฺ — เพื่อจุดมุ่งหมาย, อนฺยาเยน — ผิดกฎหมาย, อรฺถ — แห่งความร่ำรวย, สญฺจยานฺ — สะสม

คำแปล

พวกมารเชื่อว่าการสนองประสาทสัมผัสเป็นความจำเป็นพื้นฐานแห่งความศิวิไลของมนุษย์ ดังนั้นจึงมีความวิตกกังวลที่วัดไม่ได้จนกว่าชีวิตจะหาไม่ เขาถูกพันธนาการอยู่ในเครือข่ายแห่งความต้องการเป็นร้อยๆพันๆ ซึมซาบอยู่กับราคะและความโกรธ พวกมารสะสมเงินด้วยวิธีที่ผิดกฎหมายเพื่อสนองประสาทสัมผัส

คำอธิบาย

พวกมารยอมรับว่าการรื่นรมย์ทางประสาทสัมผัสเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดแห่งชีวิต และจะรักษาแนวคิดนี้จนกว่าจะตาย โดยไม่เชื่อในชีวิตหลังจากตายไปแล้วและไม่เชื่อว่าต้องไปอยู่ในร่างที่แตกต่างกันตามกรรม (กรฺม) หรือตามกิจกรรมที่ตนได้กระทำในโลกนี้ แผนการสำหรับชีวิตไม่เคยหมด พวกนี้วางแผนแล้วแผนเล่าซึ่งไม่มีวันจบสิ้น เรามีประสบการณ์โดยตรงกับบุคคลที่มีแนวคิดมารเช่นนี้ ซึ่งแม้ถึงเวลาตายยังถามหาแพทย์ให้ช่วยต่อชีวิตอีกสี่ปีเพราะว่าแผนของตนยังไม่เสร็จสมบูรณ์ คนโง่เช่นนี้ไม่รู้ว่าแพทย์ไม่สามารถต่ออายุให้แม้แต่วินาทีเดียว เมื่อคำสั่งมาถึงจะไม่มีการพิจารณาถึงความต้องการของมนุษย์ กฎแห่งธรรมชาติไม่อนุญาตแม้แต่วินาทีเดียว นอกเหนือไปจากที่เขาได้ถูกกำหนดไว้ให้รื่นรมย์

คนมารผู้ไม่มีความศรัทธาในองค์ภควานฺหรืออภิวิญญาณภายในใจตนเองทำบาปทุกอย่างเพื่อสนองประสาทสัมผัสของตน โดยไม่รู้ว่ามีพยานนั่งอยู่ภายในหัวใจอภิวิญญาณทรงดูกิจกรรมของปัจเจกวิญญาณ ดังที่ได้กล่าวไว้ใน อุปนิษทฺ ว่ามีนกสองตัวเกาะอยู่บนต้นไม้ต้นเดียวกัน นกตัวหนึ่งปฏิบัติการและได้รับความสุขหรือความทุกข์จากผลไม้ของต้น และนกอีกตัวหนึ่งทรงเป็นพยาน แต่มารไม่มีความรู้ในคัมภีร์พระเวทและไม่มีความศรัทธา ดังนั้นจึงรู้สึกเป็นอิสระที่จะทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อสนองประสาทสัมผัสไม่ว่าผลที่ตามมาจะเป็นเช่นไร