ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สิบหก
ธรรมชาติทิพย์และธรรมชาติมาร
โศลก 22
etair vimuktaḥ kaunteya
tamo-dvārais tribhir naraḥ
ācaraty ātmanaḥ śreyas
tato yāti parāṁ gatim
tamo-dvārais tribhir naraḥ
ācaraty ātmanaḥ śreyas
tato yāti parāṁ gatim
เอไตรฺ วิมุกฺตห์ เกานฺเตย
ตโม-ทฺวาไรสฺ ตฺริภิรฺ นรห์
อาจรตฺยฺ อาตฺมนห์ เศฺรยสฺ
ตโต ยาติ ปรำ คติมฺ
ตโม-ทฺวาไรสฺ ตฺริภิรฺ นรห์
อาจรตฺยฺ อาตฺมนห์ เศฺรยสฺ
ตโต ยาติ ปรำ คติมฺ
เอไตห์ — จากสิ่งเหล่านี้, วิมุกฺตห์ — หลุดพ้น, เกานฺเตย — โอ้ โอรสพระนาง กุนฺตี, ตมห์-ทฺวาไรห์ — จากประตูแห่งอวิชชา, ตฺริภิห์ — สามประตู, นรห์ — บุคคล, อาจรติ — ปฏิบัติ, อาตฺมนห์ — เพื่อตัวเอง, เศฺรยห์ — พร, ตตห์ — หลังจากนั้น, ยาติ — เขาไป, ปรามฺ — สูงสุด, คติมฺ — จุดหมายปลายทาง
คำแปล
มนุษย์ผู้หลบหนีประตูทั้งสามที่นำไปสู่นรกนี้ได้
คำอธิบาย
เราควรระวังเป็นอย่างมากเกี่ยวกับศัตรูทั้งสามตัวของชีวิตมนุษย์คือ ราคะ ความโกรธ และความโลภ บุคคลที่เป็นอิสระจากราคะ ความโกรธ และความโลภได้มากเพียงใดความเป็นอยู่ของเขาก็จะบริสุทธิ์มากเพียงนั้น และจะสามารถปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในวรรณกรรมพระเวทได้ จากการปฏิบัติตามหลักธรรมแห่งชีวิตมนุษย์เราจะค่อยๆยกระดับตนเอง และค่อยๆพัฒนามาสู่ระดับแห่งความรู้แจ้งทิพย์ ด้วยการปฏิบัติเช่นนี้หากโชคดีพอที่จะเจริญขึ้นมาถึงระดับแห่งกฺฤษฺณจิตสำนึกความสำเร็จของเราก็รับประกันได้ ในวรรณกรรมพระเวทมีวิถีทางแห่งการกระทำและผลของการกระทำซึ่งอธิบายเพื่อให้มาถึงระดับแห่งความบริสุทธิ์ วิธีการทั้งหมดมีพื้นฐานอยู่ที่การละทิ้งราคะ ความโลภ และความโกรธ จากการพัฒนาความรู้แห่งวิธีการนี้เราสามารถพัฒนามาถึงสถานภาพสูงสุดในความรู้แจ้งแห่งตน ความรู้แจ้งแห่งตนนี้มีความสมบูรณ์อยู่ในการอุทิศตนเสียสละรับใช้ ในการอุทิศตนเสียสละรับใช้นั้นสามารถรับประกันได้ถึงความหลุดพ้นของพันธวิญญาณ ดังนั้นตามระบบพระเวทมีสถาบันแห่งชีวิตสี่ระดับและสี่อาชีพ เรียกว่า ระบบวรรณะและระบบชีวิตทิพย์ มีกฎเกณฑ์ที่แตกต่างกันสำหรับวรรณะที่ไม่เหมือนกัน หรือระดับของสังคมที่ไม่เหมือนกัน และหากผู้ใดสามารถปฏิบัติตามเขาจะพัฒนามาถึงระดับสูงสุดแห่งความรู้แจ้งทิพย์โดยปริยาย และจะได้รับความหลุดพ้นอย่างไม่มีข้อสงสัย