ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบหก

ธรรมชาติทิพย์และธรรมชาติมาร

โศลก 23

yaḥ śāstra-vidhim utsṛjya
vartate kāma-kārataḥ
na sa siddhim avāpnoti
na sukhaṁ na parāṁ gatim
ยห์ ศาสฺตฺร-วิธิมฺ อุตฺสฺฤชฺย
วรฺตเต กาม-การตห์
น ส สิทฺธิมฺ อวาปฺโนติ
น สุขํ น ปรำ คติมฺ
ยห์ — ผู้ใดซึ่ง, ศาสฺตฺร-วิธิมฺ — กฎของพระคัมภีร์, อุตฺสฺฤชฺย — ยกเลิก, วรฺตเต — ยังคง, กาม-การตห์ — ทำตามอำเภอใจในราคะ, — ไม่, สห์ — เขา, สิทฺธิมฺ — ความสมบูรณ์, อวาปฺโนติ — บรรลุ, — ไม่เคย, สุขมฺ — ความสุข, — ไม่, ปรามฺ — สูงสุด, คติมฺ — ระดับสมบูรณ์

คำแปล

ผู้ที่ยกเลิกคำสั่งสอนของพระคัมภีร์ และทำตามอำเภอใจของตนเองจะไม่บรรลุถึงความสมบูรณ์ ความสุข หรือจุดหมายปลายทางสูงสุด

คำอธิบาย

ดังที่ได้อธิบายไว้ก่อนหน้านี้ว่า ศาสฺตฺร-วิธิ หรือทิศทางของ ศาสฺตฺร ได้ให้ไว้แก่วรรณะต่างๆ และระดับต่างๆของสังคมมนุษย์ คาดว่าทุกคนปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เหล่านี้ หากไม่ปฏิบัติตามและทำตามอำเภอใจ ตามราคะ ความโลภ และความปรารถนาของตนเองจะไม่มีวันสมบูรณ์ในชีวิต อีกนัยหนึ่งมนุษย์อาจรู้ทุกสิ่งทุกอย่างทั้งหลายเหล่านี้ทางทฤษฎี แต่หากไม่ได้นำไปใช้กับชีวิตของตนควรรู้ไว้ว่าเขาเป็นผู้ต่ำสุดของมนุษยชาติ ในรูปชีวิตมนุษย์สิ่งมีชีวิตคาดหวังว่าจะมีสติสัมปชัญญะดีพอ และปฏิบัติตามกฎที่ให้ไว้เพื่อพัฒนาชีวิตของตนเองไปสู่ระดับสูงสุด แต่หากไม่ปฏิบัติตามนั้นเท่ากับดึงตัวเองให้ตกต่ำลง ถ้าปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และตามหลักศีลธรรมแต่ในที่สุดมาไม่ถึงระดับแห่งความเข้าใจองค์ภควานฺก็เท่ากับความรู้ทั้งหมดสูญเปล่า และหากยอมรับความมีอยู่ขององค์ภควานฺแต่ไม่ปฏิบัติในการรับใช้พระองค์ความพยายามก็สูญเปล่า ดังนั้นเราควรค่อยๆพัฒนาตนเองมาสู่ระดับแห่งกฺฤษฺณจิตสำนึกและอุทิศตนเสียสละรับใช้ ตรงนี้ที่จะสามารถบรรลุถึงระดับแห่งความสมบูรณ์สูงสุดไม่ใช่การไปพัฒนาอย่างอื่น

คำว่า กาม-การตห์ สำคัญมาก บุคคลทั้งๆที่รู้ยังไปละเมิดกฎ คลุกคลีอยู่ในราคะทั้งๆที่รู้ และรู้ว่าสิ่งนี้ต้องห้ามแต่ก็ยังทำเช่นนี้เรียกว่า ทำตามอำเภอใจ หากรู้ว่าสิ่งนี้ควรทำแต่ไม่กระทำก็เรียกว่า ทำตามอำเภอใจ บุคคลเหล่านี้จะถูกพระองค์ลงโทษในที่สุด และจะไม่สามารถบรรลุถึงความสมบูรณ์ซึ่งหมายไว้สำหรับชีวิตมนุษย์ ชีวิตมนุษย์หมายไว้โดยเฉพาะเพื่อทำให้ความเป็นอยู่ของตนเองบริสุทธิ์ หากไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ก็จะไม่สามารถทำให้ตนเองบริสุทธิ์ และไม่สามารถบรรลุถึงระดับแห่งความสุขที่แท้จริงได้