ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบหก

ธรรมชาติทิพย์และธรรมชาติมาร

โศลก 4

dambho darpo ’bhimānaś ca
krodhaḥ pāruṣyam eva ca
ajñānaṁ cābhijātasya
pārtha sampadam āsurīm
ทมฺโภ ทรฺโป ’ภิมานศฺ จ
โกฺรธห์ ปารุษฺยมฺ เอว จ
อชฺญานํ จาภิชาตสฺย
ปารฺถ สมฺปทมฺ อาสุรีมฺ
ทมฺภห์ — หยิ่งยะโส, ทรฺปห์ — จองหอง, อภิมานห์ — อวดดี, — และ, โกฺรธห์ — โกรธ, ปารุษฺยมฺ — เกรี้ยวกราด, เอว — แน่นอน, — และ, อชฺญานมฺ — อวิชชา, — และ, อภิชาตสฺย — ของผู้ที่เกิด, ปารฺถ — โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา, สมฺปทมฺ — คุณสมบัติ, อาสุรีมฺ — ธรรมชาติมาร

คำแปล

ความจองหอง ความเย่อหยิ่ง ความอวดดี ความโกรธ ความเกรี้ยวกราด และความเขลา คุณสมบัติเหล่านี้เป็นของพวกที่มีธรรมชาติมาร โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา

คำอธิบาย

ในโศลกนี้อธิบายถึงทางหลวงไปสู่นรก พวกมารต้องการแสดงให้เห็นว่าตนเองมีศาสนา และเจริญก้าวหน้าในศาสตร์ทิพย์ถึงแม้ไม่ปฏิบัติตามหลักธรรม และมีความหยิ่งจองหองเสมอกับการที่มีการศึกษาสูงหรือร่ำรวยมาก มารต้องการให้ผู้อื่นบูชาตนเอง และเรียกร้องให้เคารพนับถือพวกตนถึงแม้จะไม่สมควร และด้วยเรื่องเล็กน้อยก็จะโกรธมาก และพูดจาเกรี้ยวกราดไม่สุภาพโดยไม่รู้ว่าอะไรควรทำและอะไรไม่ควรทำ พวกมารทำทุกอย่างตามอำเภอใจ และมองไม่เห็นผู้ที่ควรเคารพนับถือ คุณสมบัติมารเหล่านี้ติดตามตัวมาตั้งแต่ตอนเริ่มต้นของร่างนี้ในครรภ์มารดา และเมื่อเจริญเติบโตขึ้นคุณสมบัติอันไม่เป็นมงคลทั้งหลายเหล่านี้จะปรากฏออกมา