ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สิบหก
ธรรมชาติทิพย์และธรรมชาติมาร
โศลก 5
daivī sampad vimokṣāya
nibandhāyāsurī matā
mā śucaḥ sampadaṁ daivīm
abhijāto ’si pāṇḍava
nibandhāyāsurī matā
mā śucaḥ sampadaṁ daivīm
abhijāto ’si pāṇḍava
ไทวี สมฺปทฺ วิโมกฺษาย
นิพนฺธายาสุรี มตา
มา ศุจห์ สมฺปทํ ไทวีมฺ
อภิชาโต ’สิ ปาณฺฑว
นิพนฺธายาสุรี มตา
มา ศุจห์ สมฺปทํ ไทวีมฺ
อภิชาโต ’สิ ปาณฺฑว
ไทวี — ทิพย์, สมฺปตฺ — ทรัพย์สิน, วิโมกฺษาย — หมายไว้เพื่อความหลุดพ้น, นิพนฺธาย — เพื่อพันธนาการ, อาสุรี — คุณสมบัติมาร, มตา — พิจารณาว่า, มา — ไม่, ศุจห์ — วิตก, สมฺปทมฺ — ทรัพย์สิน, ไทวีมฺ — ทิพย์, อภิชาตห์ — เกิดจาก, อสิ — เธอเป็น, ปาณฺฑว — โอ้ โอรสแห่ง ปาณฺฑุ
คำแปล
คุณสมบัติทิพย์นำมาซึ่งอิสรภาพหลุดพ้น
คำอธิบาย
องค์ศฺรี กฺฤษฺณทรงให้กำลังใจ อรฺชุน ด้วยการบอกว่า อรฺชุน ทรงไม่ได้เกิดมาพร้อมกับคุณสมบัติมาร การที่มาร่วมในการต่อสู้ไม่ใช่มารเพราะ อรฺชุน ทรงได้พิจารณาถึงข้อดีและข้อเสีย ทรงพิจารณาว่าบุคคลที่เคารพนับถือ เช่น ภีษฺม และ โทฺรณ ควรถูกสังหารหรือไม่ ดังนั้นจึงไม่ได้ปฏิบัติภายใต้อิทธิพลของความโกรธ เกียรติยศที่ผิดๆหรือความเกรี้ยวกราดท่านจึงไม่มีคุณสมบัติมาร สำหรับทหารนักรบ กฺษตฺริย การยิงธนูไปที่ศัตรูพิจารณาว่าเป็นทิพย์และการละเว้นหน้าที่เช่นนี้เป็นมาร ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลที่ อรฺชุน ทรงควรเศร้าโศก ผู้ใดที่ปฏิบัติตามหลักธรรมในวรรณะชีวิตของตนที่ต่างกันไปเท่ากับสถิตในระดับทิพย์