ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบหก

ธรรมชาติทิพย์และธรรมชาติมาร

โศลก 6

dvau bhūta-sargau loke ’smin
daiva āsura eva ca
daivo vistaraśaḥ prokta
āsuraṁ pārtha me śṛṇu
เทฺวา ภูต-สรฺเคา โลเก ’สฺมินฺ
ไทว อาสุร เอว จ
ไทโว วิสฺตรศห์ โปฺรกฺต
อาสุรํ ปารฺถ เม ศฺฤณุ
เทฺวา — สอง, ภูต-สรฺเคา — สิ่งมีชีวิตที่ถูกสร้างขึ้นมา, โลเก — ในโลก, อสฺมินฺ — นี้, ไทวห์ — เทพ, อาสุรห์ — มาร, เอว — แน่นอน, — และ, ไทวห์ — ทิพย์, วิสฺตรศห์ — ยาวมาก, โปฺรกฺตห์ — กล่าว, อาสุรมฺ — มาร, ปารฺถ — โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา, เม — จากข้า, ศฺฤณุ — จงสดับฟัง

คำแปล

โอ้ โอรสพระนาง ปฺฤถา ในโลกนี้มีสิ่งมีชีวิตที่สร้างขึ้นมาสองพวก พวกหนึ่งเรียกว่า คนทิพย์ และอีกพวกหนึ่งเรียกว่า คนมาร ข้าได้อธิบายแก่เธอถึงคุณสมบัติทิพย์มามากแล้ว บัดนี้จงฟังคุณสมบัติมารจากข้า

คำอธิบาย

องค์ศฺรี กฺฤษฺณทรงให้ความมั่นใจแด่ อรฺชุน ว่าทรงเกิดมาพร้อมกับคุณสมบัติทิพย์ บัดนี้ทรงอธิบายถึงวิถีมาร พันธชีวิตแบ่งออกเป็นสองพวกในโลกนี้ พวกที่เกิดมาพร้อมกับคุณสมบัติทิพย์ ปฏิบัติตามหลักธรรมแห่งชีวิตหมายความว่า พวกนี้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระคัมภีร์และบุคคลผู้เชื่อถือได้ เราควรปฏิบัติหน้าที่ตามแสงสว่างแห่งพระคัมภีร์ที่เชื่อถือได้ ความคิดเห็นเช่นนี้เรียกว่าทิพย์ ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามหลักธรรมดังที่กำหนดไว้ในพระคัมภีร์และเป็นผู้ปฏิบัติตามอำเภอใจของตนเองเรียกว่ามาร เราไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากปฏิบัติตามหลักธรรมของพระคัมภีร์ ได้กล่าวไว้ในวรรณกรรมพระเวทว่า ทั้งคนทิพย์และคนมารเกิดจาก ปฺรชาปติ ข้อแตกต่างก็คือ พวกหนึ่งเชื่อฟังคำสั่งสอนพระเวทและอีกพวกหนึ่งไม่เชื่อฟัง