ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบหก

ธรรมชาติทิพย์และธรรมชาติมาร

โศลก 7

pravṛttiṁ ca nivṛttiṁ ca
janā na vidur āsurāḥ
na śaucaṁ nāpi cācāro
na satyaṁ teṣu vidyate
ปฺรวฺฤตฺตึ จ นิวฺฤตฺตึ จ
ชนา น วิทุรฺ อาสุราห์
น เศาจํ นาปิ จาจาโร
น สตฺยํ เตษุ วิทฺยเต
ปฺรวฺฤตฺติมฺ — ปฏิบัติถูกต้อง, — เช่นกัน, นิวฺฤตฺติมฺ — ปฏิบัติไม่ถูกต้อง, — และ, ชนาห์ — บุคคล, — ไม่, วิทุห์ — รู้, อาสุราห์ — ของคุณสมบัติมาร, — ไม่เคย, เศาจมฺ — ความสะอาด, — ไม่, อปิ — เช่นกัน, — และ, อาจารห์ — พฤติกรรม, — ไม่เคย, สตฺยมฺ — สัจจะ, เตษุ — ในพวกเขา, วิทฺยเต — มี

คำแปล

พวกมารไม่รู้ว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ ทั้งความสะอาด ความประพฤติที่ถูกต้อง หรือสัจจะจะไม่มีในหมู่มาร

คำอธิบาย

ในทุกสังคมมนุษย์ที่ศิวิไลจะมีกฎเกณฑ์จากพระคัมภีร์เป็นชุดที่ปฏิบัติตามตั้งแต่ต้น โดยเฉพาะในหมู่ชาว อารฺยนฺ หรือพวกที่รับเอาวัฒนธรรมพระเวทมาปฏิบัติซึ่งเป็นที่รู้กันว่าเป็นพวกที่มีวัฒนธรรมเจริญสูงสุด พวกที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระคัมภีร์ถือว่าเป็นมาร ดังนั้นได้กล่าวไว้ ที่นี้ว่าพวกมารไม่รู้กฎของพระคัมภีร์และไม่มีใจจะปฏิบัติตามนั้นส่วนใหญ่จะไม่รู้ แต่ถึงแม้บางคนรู้ก็ไม่มีแนวโน้มจะปฏิบัติตาม พวกมารไม่มีศรัทธาและไม่ยินดีปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระเวท เหล่ามารไม่มีความสะอาดทั้งภายนอกหรือภายใน เราควรรักษาร่างกายให้สะอาดด้วยการอาบน้ำ แปรงฟัน โกนหนวด เปลี่ยนเสื้อผ้า ฯลฯ อยู่เสมอ สำหรับความสะอาดภายในนั้นเราควรระลึกถึงพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ขององค์ภควานฺเสมอ และสวดภาวนา หเร กฺฤษฺณ หเร กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ กฺฤษฺณ หเร หเร / หเร ราม หเร ราม ราม ราม หเร หเร พวกมารไม่ชอบและไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เพื่อความสะอาดทั้งภายนอกและภายในเหล่านี้

สำหรับความประพฤตินั้นมีกฎเกณฑ์มากมายที่ชี้นำพฤติกรรมมนุษย์ เช่น มนุ-สํหิตา ซึ่งเป็นกฎหมายของเผ่าพันธุ์มนุษย์ แม้จนกระทั่งปัจจุบันชาวฮินดูยังปฏิบัติตาม มนุ-สํหิตา กฎหมายมรดกและกฎหมายอื่นๆก็มาจากหนังสือเล่มนี้ ใน มนุ-สํหิตา ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่าสตรีไม่ควรได้รับเสรีภาพเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่าสตรีควรถูกเก็บไว้เป็นทาสแต่พวกเธอเหมือนเด็กๆ พวกเด็กๆไม่ควรปล่อยเป็นอิสระแต่มิได้หมายความว่าเก็บพวกเด็กไว้เป็นทาส ปัจจุบันพวกมารละเลยคำสั่งสอนเหล่านี้และคิดว่าสตรีควรได้รับเสรีภาพเท่าเทียมกับบุรุษ อย่างไรก็ดีการกระทำเช่นนี้ไม่ได้ทำให้สภาวะสังคมโลกดีขึ้น อันที่จริงสตรีควรได้รับการปกป้องคุ้มครองในทุกระดับของชีวิต เช่น ได้รับความคุ้มครองจากบิดาในเยาว์วัย จากสามีตอนเป็นสาว และจากบุตรที่โตแล้วเมื่อยามชรา เช่นนี้เป็นพฤติกรรมที่เหมาะสมทางสังคมตาม มนุ-สํหิตา แต่การศึกษาปัจจุบันได้ออกอุบายแนวคิดทำให้ชีวิตสตรีผยองแบบผิดธรรมชาติ ดังนั้นการแต่งงานในปัจจุบันเป็นเพียงจินตนาการในสังคมมนุษย์ และสภาวะศีลธรรมของผู้หญิงปัจจุบันจึงไม่ค่อยดี ดังนั้นเหล่ามารไม่ยอมรับคำสั่งสอนที่เป็นสิ่งดีสำหรับสังคม และเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามประสบการณ์ของนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่และกฎเกณฑ์ที่เหล่านักปราชญ์ได้วางไว้สภาวะสังคมของคนมารจึงมีความทุกข์มาก