ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบเจ็ด

ระดับแห่งความศรัทธา

โศลก 14

deva-dvija-guru-prājña-
pūjanaṁ śaucam ārjavam
brahmacaryam ahiṁsā ca
śārīraṁ tapa ucyate
เทว-ทฺวิช-คุรุ-ปฺราชฺญ-
ปูชนํ เศาจมฺ อารฺชวมฺ
พฺรหฺมจรฺยมฺ อหึสา จ
ศารีรํ ตป อุจฺยเต
เทว — ขององค์ภควาน, ทฺวิช พฺราหฺมณ, คุรุ — พระอาจารย์ทิพย์, ปฺราชฺญ — และบุคคลผู้ควรบูชา, ปูชนมฺ — บูชา, เศาจมฺ — ความสะอาด, อารฺชวมฺ — ความเรียบง่าย, พฺรหฺมจรฺยมฺ — พรหมจรรย์, อหึสา — ไม่เบียดเบียน, — เช่นกัน, ศารีรมฺ — เกี่ยวกับร่างกาย, ตปห์, อุจฺยเต — กล่าวว่าเป็น

คำแปล

ความสมถะของร่างกายประกอบด้วย การบูชาองค์ภควานฺ บูชา พฺราหฺมณ บูชาพระอาจารย์ทิพย์ และบูชาบุพการี เช่น บิดา มารดา มีความสะอาด เรียบง่าย ถือพรหมจรรย์ และไม่เบียดเบียน

คำอธิบาย

ที่นี้ องค์ภควานฺทรงอธิบายถึงความสมถะและการบำเพ็ญเพียรต่างๆ ข้อแรกทรงอธิบายถึงการปฏิบัติสมถะและการบำเพ็ญเพียรของร่างกายว่า เราควรถวายหรือเรียนรู้ในการถวายความเคารพต่อองค์ภควานฺหรือต่อเทวดา พฺราหฺมณ ผู้ทรงคุณวุฒิที่สมบูรณ์ และพระอาจารย์ทิพย์ พร้อมทั้งบุพการี เช่น บิดา มารดา หรือบุคคลผู้เชี่ยวชาญในความรู้พระเวท บุคคลเหล่านี้ควรได้รับความเคารพอย่างเหมาะสม เราควรปฏิบัติทำความสะอาดตนเองทั้งภายนอกและภายใน และควรเรียนรู้ให้เป็นคนที่มีความประพฤติเรียบง่าย ไม่ควรทำในสิ่งที่คำสอนของพระคัมภีร์ไม่อนุญาต และไม่ควรปล่อยอารมณ์ไปในเพศสัมพันธ์ที่นอกเหนือไปจากชีวิตสมรส เนื่องจากพระคัมภีร์อนุญาตเพศสัมพันธ์ให้เฉพาะคู่สมรสเท่านั้น เช่นนี้เรียกว่าถือพรหมาจรรย์ สิ่งเหล่านี้คือ การบำเพ็ญเพียร และความสมถะสำหรับร่างกาย