ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สิบแปด
บทสรุปความสมบูรณ์แห่งการเสียสละ
โศลก 13
pañcaitāni mahā-bāho
kāraṇāni nibodha me
sāṅkhye kṛtānte proktāni
siddhaye sarva-karmaṇām
kāraṇāni nibodha me
sāṅkhye kṛtānte proktāni
siddhaye sarva-karmaṇām
ปญฺไจตานิ มหา-พาโห
การณานิ นิโพธ เม
สางฺเขฺย กฺฤตานฺเต โปฺรกฺตานิ
สิทฺธเย สรฺว-กรฺมณามฺ
การณานิ นิโพธ เม
สางฺเขฺย กฺฤตานฺเต โปฺรกฺตานิ
สิทฺธเย สรฺว-กรฺมณามฺ
ปญฺจ — ห้า, เอตานิ — เหล่านี้, มหา-พาโห — โอ้ นักรบผู้ยอดเยี่ยม, การณานิ — สาเหตุ, นิโพธ — เพียงเข้าใจ, เม — จากข้า, สางฺเขฺย — ใน เวทานฺต, กฺฤต-อนฺเต — ในบทสรุป, โปฺรกฺตานิ — กล่าว, สิทฺธเย — เพื่อความสมบูรณ์, สรฺว — ของทั้งหมด, กรฺมณามฺ — กิจกรรม
คำแปล
โอ้
คำอธิบาย
อาจมีคำถามว่าเนื่องจากไม่ว่ากิจกรรมใดที่กระทำไปต้องมีผลกรรมบางอย่างแล้วบุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกจะไม่รับทุกข์หรือรื่นเริงกับผลของงานได้อย่างไร องค์ภควานฺทรงอ้างปรัชญา เวทานฺต เพื่อแสดงให้เห็นว่ามันเป็นไปได้อย่างไร พระองค์ตรัสว่ามีสาเหตุห้าประการสำหรับกิจกรรมทั้งหลาย และเพื่อความสำเร็จในกิจกรรมทั้งปวงเราควรพิจารณาสาเหตุทั้งห้านี้ สางฺขฺย หมายถึงแกนแห่งความรู้ และ เวทานฺต คือแกนสุดท้ายแห่งความรู้ที่ อาจารฺย ผู้นำทั้งหลายยอมรับ แม้แต่ ศงฺกร ยังยอมรับ เวทานฺต-สูตฺร เช่นเดียวกันนี้ ฉะนั้นเราควรปรึกษาผู้น่าเชื่อถือได้ประเภทนี้
การควบคุมขั้นสุดท้ายอยู่ที่องค์อภิวิญญาณดังที่ได้กล่าวไว้ใน ภควัท-คีตา ว่า สรฺวสฺย จาหํ หฺฤทิ สนฺนิวิษฺฏห์ พระองค์ทรงให้ทุกคนทำกิจกรรมบางอย่างด้วยการเตือนถึงกรรมในอดีต การปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึกกระทำไปภายใต้การชี้นำขององค์ภควานฺจากภายใน และจะไม่มีผลกรรมไม่ว่าในชาตินี้หรือในชาติต่อๆไป