ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบแปด

บทสรุปความสมบูรณ์แห่งการเสียสละ

โศลก 20

sarva-bhūteṣu yenaikaṁ
bhāvam avyayam īkṣate
avibhaktaṁ vibhakteṣu
taj jñānaṁ viddhi sāttvikam
สรฺว-ภูเตษุ เยไนกํ
ภาวมฺ อวฺยยมฺ อีกฺษเต
อวิภกฺตํ วิภกฺเตษุ
ตชฺ ชฺญานํ วิทฺธิ สาตฺตฺวิกมฺ
สรฺว-ภูเตษุ — ในมวลชีวิต, เยน — ซึ่ง, เอกมฺ — หนึ่ง, ภาวมฺ — สถิต, อวฺยยมฺ — ไม่สูญสิ้น, อีกฺษเต — เขาเห็น, อวิภกฺตมฺ — ไม่แบ่งแยก, วิภกฺเตษุ — แบ่งออกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน, ตตฺ — นั้น, ชฺญานมฺ — ความรู้, วิทฺธิ — รู้, สาตฺตฺวิกมฺ — ในระดับความดี

คำแปล

ความรู้ที่ทำให้เห็นธรรมชาติทิพย์ซึ่งไม่มีการแบ่งแยกในมวลชีวิต ถึงแม้ว่าพวกเขาแบ่งออกเป็นรูปลักษณ์นับจำนวนไม่ถ้วน เธอก็ควรเข้าใจว่าอยู่ในระดับความดี

คำอธิบาย

บุคคลที่เห็นดวงวิญญาณในทุกๆชีวิตไม่ว่าจะเป็นเทวดา มนุษย์ สัตว์ นก สัตว์เดรัจฉาน สัตว์น้ำ หรือต้นไม้ เป็นผู้ที่มีความรู้ในระดับความดี ในสิ่งมีชีวิตทั้งหลายนั้นจะมีหนึ่งดวงวิญญาณอยู่หนึ่งดวง ถึงแม้ว่ามีร่างกายที่แตกต่างกันตามกรรมในอดีต ดังที่ได้อธิบายไว้ในบทที่สิบเจ็ดว่า ปรากฏการณ์ของพลังชีวิตในทุกร่างเนื่องมาจากธรรมชาติที่สูงกว่าขององค์ภควานฺ ดังนั้นจึงเห็นธรรมชาติที่สูงกว่า การเห็นพลังชีวิตในทุกร่างคือการเห็นในระดับความดี พลังชีวิตไม่มีวันสูญสลายถึงแม้ว่าร่างกายแตกสลาย ข้อแตกต่างสำเหนียกเห็นทางร่างกายเพราะว่ามีรูปลักษณ์มากมายในความเป็นอยู่ทางวัตถุของพันธชีวิต พลังชีวิตดูเหมือนแบ่งแยก ความรู้ที่ไม่เชื่อในรูปลักษณ์เช่นนี้เป็นส่วนหนึ่งของความรู้แจ้งแห่งตน