ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สิบแปด
บทสรุปความสมบูรณ์แห่งการเสียสละ
โศลก 21
pṛthaktvena tu yaj jñānaṁ
nānā-bhāvān pṛthag-vidhān
vetti sarveṣu bhūteṣu
taj jñānaṁ viddhi rājasam
nānā-bhāvān pṛthag-vidhān
vetti sarveṣu bhūteṣu
taj jñānaṁ viddhi rājasam
ปฺฤถกฺเตฺวน ตุ ยชฺ ชฺญานํ
นานา-ภาวานฺ ปฺฤถคฺ-วิธานฺ
เวตฺติ สเรฺวษุ ภูเตษุ
ตชฺ ชฺญานํ วิทฺธิ ราชสมฺ
นานา-ภาวานฺ ปฺฤถคฺ-วิธานฺ
เวตฺติ สเรฺวษุ ภูเตษุ
ตชฺ ชฺญานํ วิทฺธิ ราชสมฺ
ปฺฤถกฺเตฺวน — เนื่องจากการแบ่งแยก, ตุ — แต่, ยตฺ — ซึ่ง, ชฺญานมฺ — ความรู้, นานา-ภาวานฺ — สภาวะอันหลากหลาย, ปฺฤถกฺ-วิธานฺ — แตกต่าง, เวตฺติ — รู้, สเรฺวษุ — ในทั้งหมด, ภูเตษุ — สิ่งมีชีวิต, ตตฺ — นั้น, ชฺญานมฺ — ความรู้, วิทฺธิ — ต้องรู้, ราชสมฺ — ในระดับตัณหา
คำแปล
ความรู้ที่ทำให้เห็นว่าในทุกๆร่างกายที่แตกต่างกันมีสิ่งมีชีวิตที่ไม่เหมือนกันนั้น
คำอธิบาย
แนวคิดที่ว่าร่างวัตถุคือสิ่งมีชีวิต และเมื่อร่างกายแตกสลายจิตสำนึกก็ถูกทำลายไปด้วยเช่นกัน เช่นนี้เป็นความรู้ในระดับตัณหา ตามความรู้นี้ร่างกายต่างๆไม่เหมือนกันก็เนื่องมาจากการพัฒนาจิตสำนึกที่แตกต่างกัน มิฉะนั้นจะไม่มีดวงวิญญาณที่แยกออกไปซึ่งปรากฏมาเป็นจิตสำนึก ร่างกายเป็นดวงวิญญาณในตัวเอง ไม่มีดวงวิญญาณที่แยกออกไปนอกเหนือจากร่างกาย ตามความรู้นี้จิตสำนึกไม่ถาวร หรือมิฉะนั้นก็ไม่มีปัจเจกวิญญาณแต่มีหนึ่งดวงวิญญาณที่แผ่กระจายไปทั่ว เปี่ยมไปด้วยความรู้และร่างกายนี้เป็นปรากฏการณ์ของอวิชชาชั่วคราว หรือนอกเหนือไปจากร่างกายนี้จะไม่มีปัจเจกวิญญาณพิเศษหรือดวงวิญญาณสูงสุด แนวความคิดทั้งหลายเหล่านี้พิจารณาว่าเป็นผลผลิตของระดับตัณหา