ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบแปด

บทสรุปความสมบูรณ์แห่งการเสียสละ

โศลก 37

yat tad agre viṣam iva
pariṇāme ’mṛtopamam
tat sukhaṁ sāttvikaṁ proktam
ātma-buddhi-prasāda-jam
ยตฺ ตทฺ อเคฺร วิษมฺ อิว
ปริณาเม ’มฺฤโตปมมฺ
ตตฺ สุขํ สาตฺตฺวิกํ โปฺรกฺตมฺ
อาตฺม-พุทฺธิ-ปฺรสาท-ชมฺ
ยตฺ — ซึ่ง, ตตฺ — นั้น, อเคฺร — ในตอนต้น, วิษมฺ อิว — เหมือนยาพิษ, ปริณาเม — ในบั้นปลาย, อมฺฤต — น้ำทิพย์, อุปมมฺ — เปรียบเทียบกับ, ตตฺ — นั้น, สุขมฺ — ความสุข, สาตฺตฺวิกมฺ — ในระดับความดี, โปฺรกฺตมฺ — กล่าวว่า, อาตฺม — ในตัว, พุทฺธิ — ของปัญญา, ปฺรสาท-ชมฺ — เกิดจากความพึงพอใจ

คำแปล

สิ่งที่ในตอนแรกอาจเหมือนกับยาพิษ แต่ในบั้นปลายกลายเป็นน้ำทิพย์ ซึ่งปลุกเขาให้ตื่นอยู่ในความรู้แจ้งแห่งตนกล่าวว่า เป็นความสุขในระดับความดี

คำอธิบาย

ในการแสวงหาความรู้แจ้งแห่งตนเราต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์มากมายเพื่อควบคุมจิตใจและประสาทสัมผัส และตั้งสมาธิจิตอยู่ที่ดวงชีวิต ขั้นตอนนี้ยากมากและขมขื่นเหมือนกับยาพิษ แต่ถ้าหากประสบความสำเร็จในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ และมาถึงสถานภาพทิพย์เราจะเริ่มดื่มน้ำทิพย์ที่แท้จริง และรื่นเริงอยู่กับชีวิต