ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบแปด

บทสรุปความสมบูรณ์แห่งการเสียสละ

โศลก 49

asakta-buddhiḥ sarvatra
jitātmā vigata-spṛhaḥ
naiṣkarmya-siddhiṁ paramāṁ
sannyāsenādhigacchati
อสกฺต-พุทฺธิห์ สรฺวตฺร
ชิตาตฺมา วิคต-สฺปฺฤหห์
ไนษฺกรฺมฺย-สิทฺธึ ปรมำ
สนฺนฺยาเสนาธิคจฺฉติ
อสกฺต-พุทฺธิห์ — มีปัญญาที่ไม่ยึดติด, สรฺวตฺร — ทุกหนทุกแห่ง, ชิต-อาตฺมา — มีจิตใจที่ควบคุมได้, วิคต-สฺปฺฤหห์ — ปราศจากความต้องการทางวัตถุ, ไนษฺกรฺมฺย-สิทฺธิมฺ — ความสมบูรณ์แห่งการไม่มีผลกรรม, ปรมามฺ — สูงสุด, สนฺนฺยาเสน — ด้วยชีวิตสละโลก, อธิคจฺฉติ — เขาบรรลุ

คำแปล

ผู้ที่ควบคุมตนเองได้ ไม่ยึดติด และไม่สนใจต่อความรื่นเริงทางวัตถุทั้งปวง จากการฝึกปฏิบัติการเสียสละเขาสามารถบรรลุถึงระดับสมบูรณ์สูงสุดแห่งความเป็นอิสระจากผลกรรม

คำอธิบาย

การเสียสละที่แท้จริงหมายความว่า เราควรคิดอยู่เสมอว่าตนเองเป็นละอองอณูขององค์ภควานฺ ดังนั้นจึงคิดว่าไม่มีสิทธิ์จะรื่นเริงกับผลงานของตน เนื่องจากเป็นละอองอณูขององค์ภควานฺผลงานของเราต้องถวายให้พระองค์รื่นเริง นี่คือกฺฤษฺณจิตสำนึกที่แท้จริง บุคคลปฏิบัติในกฺฤษฺณจิตสำนึกเป็น สนฺนฺยาสี หรือผู้มีชีวิตสละโลกที่แท้จริง ด้วยความคิดเช่นนี้เราจึงมีความพึงพอใจเพราะว่าเราปฏิบัติเพื่อองค์ภควานฺโดยแท้จริง ดังนั้นจึงไม่ยึดติดกับสิ่งใดๆที่เป็นวัตถุ เราจะเคยชินกับการไม่หาความสุขกับสิ่งใดที่นอกเหนือจากความสุขทิพย์ซึ่งได้รับจากการรับใช้พระองค์สนฺนฺยาสี ควรเป็นอิสระจากผลกรรมจากกรรมในอดีตของตน แต่บุคคลในกฺฤษฺณจิตสำนึกบรรลุถึงความสมบูรณ์โดยปริยายโดยไม่ต้องอุปสมบทในระดับที่สมมติว่าเป็นชีวิตสละโลก ระดับจิตเช่นนี้เรียกว่า โยคารูฒ หรือระดับสมบูรณ์แห่งโยคะ ดังที่ได้ยืนยันไว้ในบทที่สามว่า ยสฺ ตฺวฺ อาตฺม-รติรฺ เอว สฺยาตฺ เป็นผู้ที่มีความพึงพอใจในตนเอง และไม่มีความกลัวต่อผลกรรมใดๆจากการกระทำของตนเอง