ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบแปด

บทสรุปความสมบูรณ์แห่งการเสียสละ

โศลก 5

yajña-dāna-tapaḥ-karma
na tyājyaṁ kāryam eva tat
yajño dānaṁ tapaś caiva
pāvanāni manīṣiṇām
ยชฺญ-ทาน-ตปห์-กรฺม
น ตฺยาชฺยํ การฺยมฺ เอว ตตฺ
ยชฺโญ ทานํ ตปศฺ ไจว
ปาวนานิ มนีษิณามฺ
ยชฺญ — ของการบูชา, ทาน — การทำงาน, ตปห์ — และการบำเพ็ญเพียร, กรฺม — กิจกรรม, — ไม่เคย, ตฺยาชฺยมฺ — ยกเลิก, การฺยมฺ — ต้องการทำ, เอว — แน่นอน, ตตฺ — นั้น, ยชฺญห์ — การบูชา, ทานมฺ — การให้ทาน, ตปห์ — การบำเพ็ญเพียร, — เช่นกัน, เอว — แน่นอน, ปาวนานิ — บริสุทธิ์, มนีษิณามฺ — แม้แต่ดวงวิญญาณผู้ยิ่งใหญ่

คำแปล

การปฏิบัติพิธีบูชา การให้ทาน และการบำเพ็ญเพียรไม่ควรยกเลิก ต้องปฏิบัติต่อไป แน่นอนว่าพิธีบูชา การให้ทาน และการบำเพ็ญเพียรทำให้แม้กระทั่งดวงวิญญาณผู้ยิ่งใหญ่บริสุทธิ์ขึ้น

คำอธิบาย

โยคี ควรปฏิบัติตนเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของสังคมมนุษย์ มีวิธีการเพื่อความบริสุทธิ์มากมายที่ทำให้มนุษย์เจริญรุ่งเรืองในชีวิตทิพย์ ตัวอย่างเช่น พิธีแต่งงานพิจารณาว่าเป็นหนึ่งในพิธีบูชาเรียกว่า วิวาห-ยชฺญ สนฺนฺยาสี ผู้มีชีวิตสละโลกซึ่งยกเลิกความสัมพันธ์กับทางครอบครัวแล้วควรสนับสนุนพิธีแต่งงานนี้หรือไม่ องค์ภควานฺตรัส ที่นี้ว่าพิธีบูชาใดๆที่หมายไว้เพื่อสวัสดิการแห่งมนุษยชาติไม่ควรยกเลิก วิวาห-ยชฺญ เป็นพิธีแต่งงาน หมายไว้เพื่อประมาณจิตใจทำให้มนุษย์มีความสงบเพื่อความเจริญก้าวหน้าในวิถีทิพย์ สำหรับผู้ชายส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนพิธี วิวาห-ยชฺญ แม้ผู้สละโลกแล้วก็ควรให้การสนับสนุน สนฺนฺยาสี ไม่ควรอยู่ใกล้ชิดกับผู้หญิงแต่นั่นไม่ได้หมายความว่าผู้ที่อยู่ในระดับชีวิตที่ต่ำกว่า เช่น ชายหนุ่มควรถูกห้ามไม่ให้เข้าพิธีแต่งงานเพื่อมีภรรยา พิธีบูชาที่กำหนดไว้ทั้งหมดหมายไว้เพื่อบรรลุถึงองค์ภควานฺ ดังนั้นในระดับที่ต่ำกว่าเราไม่ควรยกเลิกพิธีบูชา ในทำนองเดียวกันการให้ทานก็เพื่อความบริสุทธิ์ของจิตใจ หากทำทานให้แก่บุคคลที่เหมาะสมจะทำให้เราก้าวหน้าในชีวิตทิพย์ ดังที่ได้อธิบายไว้แล้ว