ภควัท-คีตา ฉบับเดิม

บทที่ สิบแปด

บทสรุปความสมบูรณ์แห่งการเสียสละ

โศลก 51-53

buddhyā viśuddhayā yukto
dhṛtyātmānaṁ niyamya ca
śabdādīn viṣayāṁs tyaktvā
rāga-dveṣau vyudasya ca
พุทฺธฺยา วิศุทฺธยา ยุกฺโต
ธฺฤตฺยาตฺมานํ นิยมฺย จ
ศพฺทาทีนฺ วิษยำสฺ ตฺยกฺตฺวา
ราค-เทฺวเษา วฺยุทสฺย จ
vivikta-sevī laghv-āśī
yata-vāk-kāya-mānasaḥ
dhyāna-yoga-paro nityaṁ
vairāgyaṁ samupāśritaḥ
วิวิกฺต-เสวี ลฆฺวฺ-อาศี
ยต-วากฺ-กาย-มานสห์
ธฺยาน-โยค-ปโร นิตฺยํ
ไวราคฺยํ สมุปาศฺริตห์
ahaṅkāraṁ balaṁ darpaṁ
kāmaṁ krodhaṁ parigraham
vimucya nirmamaḥ śānto
brahma-bhūyāya kalpate
อหงฺการํ พลํ ทรฺปํ
กามํ โกฺรธํ ปริคฺรหมฺ
วิมุจฺย นิรฺมมห์ ศานฺโต
พฺรหฺม-ภูยาย กลฺปเต
พุทฺธฺยา — ด้วยปัญญา, วิศุทฺธยา — บริสุทธิ์โดยสมบูรณ์, ยุกฺตห์ — ปฏิบัติ, ธฺฤตฺยา — ด้วยความมุ่งมั่น, อาตฺมานมฺ — ตนเอง, นิยมฺย — ประมาณ, — เช่นกัน, ศพฺท-อาทีนฺ — เช่นเสียง, วิษยานฺ — อาตยนะภายนอก, ตฺยกฺตฺวา — ยกเลิก, ราค — การยึดติด, เทฺวเษา — และความเกลียดชัง, วฺยุทสฺย — วางไว้ข้างๆ, — เช่นกัน, วิวิกฺต-เสวี — อยู่ในที่สันโดษ, ลฆุ-อาศี — รับประทานปริมาณน้อย, ยต — ควบคุม, วากฺ — การพูด, กาย — ร่างกาย, มานสห์ — และจิตใจ, ธฺยาน-โยค-ปรห์ — ซึมซาบในสมาธิ, นิตฺยมฺ — วันละยี่สิบสี่ชั่วโมง, ไวราคฺยมฺ — ไม่ยึดติด, สมุปาศฺริตห์ — เข้าพึ่ง, อหงฺการมฺ — อหังการ, พลมฺ — กำลังที่ผิด, ทรฺปมฺ — ความยโสที่ผิด, กามมฺ — ราคะ, โกฺรธมฺ — ความโกรธ, ปริคฺรหมฺ — และยอมรัมสิ่งของวัตถุ, วิมุจฺย — ถูกส่งจาก, นิรฺมมห์ — ไม่รู้สึกว่าเป็นเจ้าของ, ศานฺตห์ — ความสงบ, พฺรหฺม-ภูยาย — เพื่อความรู้แจ้งแห่งตน, กลฺปเต — มีคุณสมบัติ

คำแปล

ได้รับความบริสุทธิ์จากปัญญา และควบคุมจิตใจด้วยความมุ่งมั่น ไม่ยุ่งกับอายตนะภายนอกเพื่อสนองประสาทสัมผัส เป็นอิสระจากการยึดติดและความเกลียดชัง เป็นผู้อยู่ในสถานที่สันโดษ รับประทานน้อย ควบคุมร่างกาย จิตใจ และพลังในการพูด อยู่ในสมาธิเสมอ และไม่ยึดติด เป็นผู้ปราศจากอหังการอำนาจที่ผิด ความยโสที่ผิด ราคะ ความโกรธ และการยอมรับสิ่งของวัตถุปราศจากความเป็นเจ้าของที่ผิด และมีความสงบ บุคคลเช่นนี้แน่นอนว่าจะพัฒนาไปสู่สถานภาพการรู้แจ้งแห่งตน

คำอธิบาย

เมื่อบริสุทธิ์ขึ้นด้วยปัญญาเขาจะรักษาตัวให้อยู่ในระดับความดี ดังนั้นจึงเป็นผู้ควบคุมจิตใจได้และตั้งอยู่ในสมาธิเสมอโดยไม่ยึดติดกับอายตนะภายนอกเพื่อสนองประสาทสัมผัส จึงเป็นอิสระจากการยึดติดและความเกลียดชังในกิจกรรมของตนเอง บุคคลที่ไม่ยึดติดเช่นนี้โดยธรรมชาติชอบอยู่ในที่สันโดษ ไม่รับประทานอาหารมากเกินความจำเป็น ควบคุมกิจกรรมของร่างกาย และจิตใจของตนเองได้ ไม่มีอหังการเพราะไม่ยอมรับว่าร่างกายเป็นตัวเขาเอง และไม่ปรารถนาที่จะทำให้ร่างกายอ้วนท้วมแข็งแรงจากการยอมรับเอาสิ่งของวัตถุต่างๆมากมาย เนื่องจากไม่มีแนวคิดแห่งชีวิตทางร่างกายจึงไม่มีความยโสอย่างผิดๆ มีความพึงพอใจกับทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้มาด้วยพระกรุณาธิคุณขององค์ภควานฺ ไม่มีความโกรธที่ไม่ได้สนองประสาทสัมผัส และไม่พยายามได้มาซึ่งอายตนะภายนอก เมื่อเป็นอิสระจากอหังการโดยสมบูรณ์และไม่ยึดติดกับสิ่งของวัตถุทั้งหลายนั่นคือระดับความรู้แจ้งแห่งตนของ พฺรหฺมนฺ ระดับนี้เรียกว่า พฺรหฺม-ภูต เมื่อเป็นอิสระจากแนวคิดแห่งชีวิตทางวัตถุเขาจะไม่มีความเร่าร้อน ได้อธิบายไว้ใน ภควัท-คีตา (2.70) ว่า

อาปูรฺยมาณมฺ อจล-ปฺรติษฺฐํ
สมุทฺรมฺ อาปห์ ปฺรวิศนฺติ ยทฺวตฺ
ตทฺวตฺ กามา ยํ ปฺรวิศนฺติ สเรฺว
ส ศานฺติมฺ อาปฺโนติ น กาม-กามี
“บุคคลผู้ไม่ถูกรบกวนจากความต้องการที่ไหลออกมาอย่างไม่หยุดยั้งนั้นเหมือนกับแม่น้ำที่ไหลลงสู่มหาสมุทร ซึ่งเต็มเปี่ยมแต่สงบนิ่งอยู่ตลอดเวลา เขาผู้นี้เท่านั้นที่ได้รับความสงบ ไม่ใช่บุคคลผู้ดิ้นรนเพื่อสนองความต้องการเหล่านี้”