ภควัท-คีตา ฉบับเดิม
บทที่ สิบแปด
บทสรุปความสมบูรณ์แห่งการเสียสละ
โศลก 59
yad ahaṅkāram āśritya
na yotsya iti manyase
mithyaiṣa vyavasāyas te
prakṛtis tvāṁ niyokṣyati
na yotsya iti manyase
mithyaiṣa vyavasāyas te
prakṛtis tvāṁ niyokṣyati
ยทฺ อหงฺการมฺ อาศฺริตฺย
น โยตฺสฺย อิติ มนฺยเส
มิไถฺยษ วฺยวสายสฺ เต
ปฺรกฺฤติสฺ ตฺวำ นิโยกฺษฺยติ
น โยตฺสฺย อิติ มนฺยเส
มิไถฺยษ วฺยวสายสฺ เต
ปฺรกฺฤติสฺ ตฺวำ นิโยกฺษฺยติ
ยตฺ — หาก, อหงฺการมฺ — ของอหังการ, อาศฺริตฺย — ไปพึ่ง, น โยตฺเสฺย — ข้าจะไม่สู้รบ, อิติ — ดังนั้น, มนฺยเส — เธอคิด, มิถฺยา เอษห์ — เช่นนี้ผิดทั้งหมด, วฺยวสายห์ — ความมุ่งมั่น, เต — ของเธอ, ปฺรกฺฤติห์ — ธรรมชาติวัตถุ, ตฺวามฺ — เธอ, นิโยกฺษฺยติ — จะปฏิบัติ
คำแปล
หากไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของข้า
คำอธิบาย
อรฺชุน ทรงเป็นทหารและเกิดจากธรรมชาติแห่งความเป็น กฺษตฺริย ดังนั้นหน้าที่โดยธรรมชาติคือการต่อสู้ แต่เนื่องจากอหังการจึงกลัวว่าเมื่อสังหารครูบาอาจารย์ เสด็จปู่ และบรรดาสหายจะได้รับผลบาป อันที่จริง อรฺชุน ทรงพิจารณาว่าตนเองเป็นเจ้านายแห่งการกระทำของตน ประหนึ่งว่าตนเองเป็นผู้กำกับผลดีและผลเสียของงานนี้ โดยลืมไปว่าองค์ภควานฺทรงประทับอยู่เคียงข้าง และทรงสอนให้ อรฺชุน ต่อสู้ นั่นคือการลืมของพันธวิญญาณ องค์ภควานฺทรงให้คำชี้นำว่าอะไรดีและอะไรไม่ดี เราเพียงแต่ต้องปฏิบัติกฺฤษฺณจิตสำนึกเพื่อบรรลุถึงความสมบูรณ์แห่งชีวิต ไม่มีผู้ใดมีความมั่นใจในชะตากรรมของตนเองเท่ากับพระองค์ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือรับเอาคำสั่งจากพระองค์และปฏิบัติตาม ไม่มีผู้ใดควรปฏิเสธคำสั่งขององค์ภควานฺหรือคำสั่งของพระอาจารย์ทิพย์ซึ่งเป็นผู้แทนของพระองค์ เราควรปฏิบัติตามคำสั่งขององค์ภควานฺโดยไม่ลังเล เช่นนี้จะรักษาตัวเราให้ปลอดภัยภายใต้สถานการณ์ทั้งปวง